วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

กล้วยไม้สกุลเอื้องกุหลาบ

สกุลเอื้องกุหลาบ (Aerides)
กล้วยไม้สกุลนี้เฉพาะที่พบในบ้านเรามี 8 ชนิดด้วยกัน โดยไม่นับรวมเอื้องกุหลาบหนวดพราหม์พมณ์ (Aer. mitrata) ที่ย้ายไปไว้ในสกุลใหม่เป็น Seidenfadenia mitrata เอื้งกุหลาเป็นพวกไม้อากาศที่เลี้ยงง่าย ยกเว้นบางชนิดที่ชอบอากาศเย็น ช่อห้อยหรือช่อโค้งลง ดอกสวยงาม แลบาางชนิดมีกลิ่นหอมคล้ายกุหลายก็มี คล้ายกลิ่นตะใครก็มี จึงเป็นกล้วยไม้ที่เหมาะสำหรับนำไปปลูกประดับสวนโดยห้อยไว้ตามคบไม้ กิ่งไม้และตอไม้หรือแม้แต่บนกำแพงหรือบนรั้วบ้าน เพื่อให้เจริญงอกงามเป็นกอใหญ่ต่อไป เมื่อถึงฤดูดอกจะออกหร้อมกันหลายสิบช่อน่าดูมาก ปละถ้าเป็นชนิดที่มีกลิ่นจะหอมตลบไปทั่วบริเวณ


เอื้องกุหลาบหระเป๋าปิด (Aer. odorata)
หรือบางครั้งเรียกว่า เอื้งกุหลาบพวง เป็นชนิดที่พบแพร่หลายทั่วไปในทุคภาคของประเทศ ทรงต้นโปร่งยอดเลื้อยทอด ใบแบนยาว กว้าง 2-3 ซม. ยาว 20-30 ซม. ก้านช่อยาวประมาณ 20-30 ซม. ปลาบช่อโค้งลง ดอกออกรอบก้านช่อระยะพองาม ขนาดดอก 2.5-3 ซม. สีขาวแต้มชมพูที่ปลายกลีบและปลายปาก แผ่นปากเล็กมีหูปากหุ้มเส้นเกสรไว้ จึงเรียนว่ากระเป๋าเปิด และมีเดือยงอนชี้ไปข้างหน้า ดอกมีกลิ่นหอมแรงบานครั้งละหลายๆ ช่อในแต่ละยอด และบานเกือบจะหร้อมกันทั้งช่อ เนื่องจากเป็นชนิดที่มีการกระจายพันธ์กว้างขวาง จึงมีลักษณะแตกต่างกันมากพอสมควร ในบ้านเราที่ห็นเด่นชัดก็มี




เอื้องกุหลาบหระเป๋าเปิด (Aer. falacata)
ลักษณะต้นคล้ายเอื้องกุหลาบกระเป๋าปืด แต่ใบแผ่กว้างกว่า คือ กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 15-30 ซม. ก้านช่ออ่อนห้อยลงพื้น ยาว 20-40 ซม. ดอกออกรอบช่อกระจายห่าง ๆ ขนาดโตราว 3 ซม. ปากกว้างแบะยื่นออกมาข้างหน้าสีม่วงแดง แต่แทนที่จะเรียนว่ากุหลาบปากเปิดกลับไปเรีบยกระเป๋าเปิดแทนกลีบดอกสีขาวแต้มม่วงที่ปลายกลีบหรือเคือบม่วง ออกช่อพร้อมกันยอดละหลายช่อ พบแพร่หลายทั่วไป เป็นชนิดที่เลี้ยงง่ายมาก ชอบแดด ออกดอกใยฤดูร้อนระห่างเดือนเมษายนถึง พฤศภาคม




เอื้องกุหลาบเหลือโคราช (Aer. houlettiana)
เป็นกุกลาบปากเปิดอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งบางคนก็ถือเป็นเพียงพันธ์หนึ่งเท่านั้นลักษณะต้นตั้งหรือค่อนข้างตั้งสูง 30-60 ซม. ใบถี่ซ้อนชิดกันพอสมควร กว้างราว 2.5 ซม. ยาว 15-20 ซม. ก้านช่อดอกโค้งยาว 15-25 ซม. ก้านช่อดอกโค้งยาว 15-25 ซม. ขนาดดอกโตราว 2.5-3 ซม. สีเหลืองนวลไปจนเหลือแก่ ปลายปากแผ่นกว้างสีม่วงอ่อนจนถึงม่วงแก่โคนปลายขาว ต้นสีแก่จะดูสวยงามกว่าต้นสีอ่อนมาก โดยเฉพาะสีเหลือม่วง-ขาว ที่ตัดกันเด่นชัด มีกลิ่นหอมมากบ้างน้อยบ้าง คล้ายกลิ่นตะไคล้ พยเฉพาะในถาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่นครราชสีมาจนถึงนครพนม ตามป่าโปร่งแห้งแล้ง การปลูเลี้ยงในกรุงเทพฯ ๆไม่ควรให้ร่มชื้นเกินไปยอกมักเน่าเปื่อยเมื่อฝนตกชุก ออกดอกครั้งละหลายช่อในช่วงฤดูร้อนระกว่าเดือนเมาาถึงพฤษภา หากปีใดเว้นไม่ออกดอกมักไปออกรวมในอีถัดไปมากช่อยิ่งขึ้นถ้าต้นสมบูรณ์พอ

เอื้องกุหลาบแดง (Aer. crassifolia)
เป็นชนิดที่ชาวยุโรปนิยมว่าสวยงามมากจนถึงกับเรียดว่า "ราชาแห่งเอื้องกุหลาบ" ที่เดียวลำต้นเตี้ยล่ำสัน ใบใหญ่สั้นและหนาสีเขียวปนแดง โดยเฉพาะในช่วงแล้ง ใบกว้างประมาณ 15-20 วม. ปลายช่อโค้งลงขนาดดอกโตราว 3 ซม. กลีบดอกนอกคู่ล่วงกว้างมาก ปากแบะยื่นออกมา สีของดอกมีตั้งแต่ชมพูสดไปจนสีม่วงแก่ โคนกลีบขาว แผ่นปากสีเข้มกว่าเล็กน้อยพบตามป่าโปร่งแห้วแล้ง หรือตามภูเขาสูงทั่วไปยกเว้นภาคใต้ ปลูเลี้ยงในกร่งเทพฯ ได้เจริญงอกงามดีมากแต่ออกดอกยากหรือบางทีช่อสั้นกว่าปกติจึงทำให้ขาดความงามไปอีก


เอื้องกุหลาบน่าน (Aer. fieldingii)จ
ทรงต้นแข็งแรงล่ำสันใบใหญ่หนาคล้ายช้างขนาดย่อม แต่ใบั้งกว่าเล็กน้อย กว้างประมาณ 2.5-4 ซม. ยาว 15-30 ซม. ก้านช่อดอกยาวราว 40 ซม. ห้องลงหรือปลายโค้งลง และบางทีแตกแขนงช่อ 1-2 ช่อด้วย ดอกดกออกรอบก้านช่อ 50-100 ดอก ถ้านับรวมแขนงช่อดอกด้วย ดอกเล็กมีขนาดโตประมาณ 2.5 ซม. สีขาวประจุดม่วง ปากม่วง ชนิดโตพบที่ภูหลวงจังหวัดเลยด้วย
ส่วนชนิดทางภาคเหนือซึ่งเรียกว่า เอื้องกุหลาบไอยรา กรือเอราวัณ นั้นมีต้นเล็ก ใบแคบเล็กและสั้นกว่าปกติ ขอบใบกางออกขนาดดอกเล็กกว่าคือโตราว 2 วม. เท่านั้น แต่ก้านช่อยาวอาจถึง 60 ซม. และแตกแขนงช่อ 2-3 แขนงได้ ซึ่งเอื่องกุหลาบชนิดนี้ ศ.ระพีสาคลิก ว่าเป็่น Aer. multiflora var. lowii แต่ยังไม่ได้ตรวจสอบดูให้แน่นอน


เอื้องกุหลายมาลัยแดง (Aer. muliflora)
ลักษณะทรงต้นล่ำสัน แข็งแรง เตี้ย ใบหนา ของใบห่อพับ ปลายใบโค้งลงออกซ้อนชิด ใบกว่างประมาณ 2.5-4 ซม. ยาว 15-25 ซม. ก้านช่อแข็ง โค้งลงหรือห้อย สีม่วงเข็มเกือยดำ ดอกดกออกแนานช่อ ขนาดดอกโตราว 3 ซม. พื้นสีขาวปลายกลีบแต้วสีม่สงแดง กลีบในประแต้มสีม่วงแดงแก่ แผ่นปากกว่างแบะยื่นออกเป็นรูปสามเหลี่ยม สีม่วงอดง พบตามป่าโปร่งแห้งแล้งหรือตามคบไม้ใหญ่ในทุ่มนา และชายป่าดงดิบทั่วไปในภาคเหนือ ตะวันตก ตะวันออกและตะวันออกเฉียงหนือ

เอื้องกุหลาบพวงชมพู (Aer. krabiensis)
เป็นเอื้องกุหลาบที่เพิ่งพบกันเมื่อราว 10 ปีมานี้เอง และตั้งชื่อตามจัวหวัดที่พบครั้งแรก เป็นเอื้องกุหลาบขนาดย่อมและพบว่ามีขนาดเล็กแบบ miniature ด้วย คือเล็กกว่าต้นย่อมราวเท่าตัว และดอกเล็กกว่าด้วย ลักษณะทรงต้นเตี้ย ใบเล็กและหนาแข็ง กว้าง 1-2 ซม. ยาว 7-12 ซม. ถ้าเป็นชนิดต้นใบแผ่ แต่ถ้าเป็นชนิดต้นเล็กใบแคบเรียวยาวปลายโค้งใบออกซ้อยชิดกันพอประมาณก้านช่อดอกยาวมากเมื่อเทียบกับขนาดของต้นคือยาวประมาณ 15-25 ซม. ปลายช่อดอกที่ตอนปลายอืกราว 10 ซม. เท่านั้น ดอกย่อมโตประมาณ 1.2-1.8 ซม. สีชมพูสดไปจนถึงสีม่วงแดงแก่พบขึ้นตามภูเขาหินปูนตามเกาะและชายฝั่งทะเลในเขตจัวหวัดกระบี่ และพังงา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น