กระทรวงสาธารณสุข เผยว่า ขณะนี้คนไทยกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับสารอนุมูลอิสระ เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการอักเสบ การทำลายเนื้อเยื่อ เกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด
ทั้งนี้สารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน ซึ่งสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ โดยวิตามินซี ซึ่งละลายน้ำได้ ทำหน้าที่จับอนุมูลอิสระในเซลล์ที่เป็นของเหลว ป้องกันการถูกอนุมูลอิสระทำลาย ส่วนวิตามินอี เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน จะช่วยยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระได้ และวิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันที่อยู่ในรูปของเบต้าแคโรทีน หรือแคโรทีนอยด์ ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ป้องกันเนื้องอก และมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพด้านอื่นๆ ได้แก่ ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการเสื่อมของตา เนื่องจากสูงอายุ และต้อกระจก รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งบางชนิดและโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างดี
ทั้งนี้กรมอนามัยได้ศึกษาแหล่งอาหารไทยที่มีสารต้านอนุมูลอิสระทั้ง 3 ชนิด พบว่าผลไม้ที่พบสารเบต้าแคโรทีนมากที่สุด 10 อันดับแรก คือ
- มะม่วงน้ำดอกไม้สุกมี 873 ไมโครกรัม
- มะเขือเทศราชินีมี 639 ไมโครกรัม
- มะละกอสุก 532 ไมโครกรัม
- แคนตาลูป 217 ไมโครกรัม
- มะปรางหวาน 230 ไมโครกรัม
- มะยงชิด 207 ไมโครกรัม
- สับปะรดภูเก็ต 150 ไมโครกรัม
- แตงโม 122 ไมโครกรัม
- ส้มสายน้ำผึ้ง 101 ไมโครกรัม
- ลูกพลับ 93 ไมโครกรัม
- ผลไม้ที่มีวิตามินอีสูงสุด 10 อันดับแรก คือ
- ขนุนหนัง 2.38 มิลลิกรัม
- มะขามเทศ 2.29 มิลลิกรัม
- มะม่วงเขียวเสวยดิบ 1.52 มิลลิกรัม
- มะเขือเทศราชินี 1.34 มิลลิกรัม
- มะม่วงเขียวเสวยสุก 1.23 มิลลิกรัม
- มะม่วงน้ำดอกไม้สุก 1.1 มิลลิกรัม
- มะม่วงยายกล่ำสุก 0.97 มิลลิกรัม
- กล้วยไข่ 0.47 มิลลิกรัม
- แก้วมังกรเนื้อสีชมพู 0.59 มิลลิกรัม
- สตรอเบอรี่ 0.54 มิลลิกรัม
- ส่วนผลไม้ที่มีวิตามินซีมากที่สุด 10 อันดับแรก คือ
- ฝรั่งกลมสาลี่ 187 มิลลิกรัม
- ฝรั่งไร้เมล็ด 151 มิลลิกรัม
- มะขามป้อม 111 มิลลิกรัม
- มะขามเทศ 97 มิลลิกรัม
- เงาะโรงเรียน 76 มิลลิกรัม
- ลูกพลับ 73 มิลลิกรัม
- สตรอเบอรี่ 66 มิลลิกรัม
- มะละกอแขกดำสุก 55 มิลลิกรัม
- พุทธาแอปเปิล 47 มิลลิกรัม
- ส้มโอขาวแตงกวา 48 มิลลิกรัม
ข้อมูลจาก ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ตไม่เกี่ยวกับข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น