วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

โรคไข้มาลาเรีย(2)

http://dpc9.ddc.moph.go.th





ยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย

ยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย ในประเทศไทย คือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles spp.) ที่เรียกอย่างนี้ เพราะเวลาที่ยุงกัดคน มันจะเกาะโดยยกก้นขึ้นทำมุมกับผิวหนัง 45 องศา
ลักษณะการเกาะของ ยุงก้นปล่องขณะดูดกินเลือด
ยุงก้นปล่อง ที่เป็นพาหะหลักของการนำเชื้อโรคมาลาเรียที่สำคัญ ได้แก่
1. Anopheles dirus
2. Anopheles minimus
3. Anopheles maculatus
4. Anopheles sundaicus


1. Anopheles dirus ตัวเมีย ส่วนของปาก ( proboscis) จะยาวเกือบเท่าระยางค์ปาก ( maxillary palpi ) และส่วนปลายอก ( scutellum ) จะโค้งเรียบไม่มี รอยหยัก ส่วนขาจะขาลายทั้ง 3 คู่ ข้อต่อระหว่างขาคู่หลังตรงส่วน Tibia และ Tarsi จะมีปื้นขาวยาวมาก เห็นได้ชัดเจน Anopheles Dirus พบในป่าทึบชอบออกไข่ตามแอ่งน้ำนิ่งขังตามธรรมชาติ ลักษณะนิสัยชอบกินเลือดคนมาก ไม่ชอบกินเลือดสัตว์อื่นออกหากินตอนกลางคืนถึงเช้ามืด แต่ถ้าป่าทึบมาก ๆ ก็หากินช่วงกลางวันด้วย ยุงชนิดนี้ เป็นชนิดที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อมาลาเรียมากกว่ายุงพาหะชนิดอื่นในประเทศไทย

2. Anopheles minimus ลักษณะปาก,ระยางค์ปากและส่วนปลายของอกคล้าย An.dirus แต่ส่วนของปากและขาดำตลอด Anopheles Minimus พบตามชายป่า ชอบวางไข่ในลำธาร น้ำใส ไหลเอื่อย ๆ ยุง Anopheles จะชอบออกไข่ในน้ำนิ่ง ดังนั้น วิธีหนึ่งที่เราจะช่วยกำจัดมาลาเรียคือ ทำลายแหล่งน้ำนิ่งทั้งในและนอกบ้านให้หมดสิ้น

3.Anophelesmaculatus ลักษณะปาก,ระยางค์ปาก และส่วนปลายของอกคล้าย An.dirus แต่ลักษณะของขาจะลายทั้ง 3 คู่ ขาคู่หลังจะมีปื้นขาวที่ส่วนปลาย

4.Anopheles sundaicus ลักษณะปาก,ระยางค์ปาก และส่วนปลายของอก คล้าย An.dirus แต่ลักษณะของขาทุกขา จะมีจุดขาวเป็นกระไม่มีปื้นขาวเลย
ยุงมีปากที่เป็นท่อแหลมสำหรับดูดเลือดจากคนเพื่อเอาโปรตีนไปสร้างไข่ ยุงตัวเมียมักออกหาเหยื่อเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นท่อเจาะผิวหนังเพื่อดูดกินเลือด กระบวนการนี้ ตามปรกติจะดำเนินไปโดยเหยื่อไม่รู้ตัว เนื่องจากยุงจะปล่อยน้ำลายออกมา เพื่อทำหน้าที่เป็นยาชา ทำให้คนถูกกัดไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งน้ำลายนี่เองที่มีเชื้อมาลาเรีย โดยยุงได้เชื้อนี้จากคนที่มันไปกัดมาก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น