วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
โรคไข้มาลาเรีย(6)
เป็นมาตรการที่ดำเนินการต่อเชื้อมาลาเรียเฉพาะในผู้ป่วยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบำบัดรักษา ลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยให้หายขาดจากโรค เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อระยะติดต่อไปสู่บุคคลอื่น
1. การค้นหาผู้ป่วย เป็นการค้นหาผู้ที่มีเชื้อมาลาเรียในกระแสโลหิตที่เป็นผู้ป่วยรายใหม่ โดยการเจาะโลหิตตรวจหาเชื้อมาลาเรีย เพื่อค้นหาแหล่งรังโรค ให้การบำบัดรักษาและลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ตัดวงจรการแพร่โรค และการตรวจโลหิตติดตามสำหรับผู้ที่เคยพบเชื้อมาลาเรีย
1.1 การค้นหาผู้ป่วยทางตรง เป็นการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก โดยเจ้าหน้าที่เดินทางเข้าไปเจาะโลหิตในหมู่บ้าน ซึ่งอาจดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ หรือเป็นกิจกรรมเฉพาะกิจเมื่อมีไข้สูงผิดปกติหรือคาดว่าจะมีไข้สูงผิดปกติ ได้แก่ การค้นหาผู้ป่วยวิธีพิเศษ มาลาเรียคลินิกเคลื่อนที่ การเจาะโลหิตหมู่ การเจาะโลหิตขณะไปสอบประวัติผู้ป่วย การค้นหาผู้ป่วยวิธีพิเศษ เป็นการเจาะโลหิตประชาชนกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้าน ในลักษณะเยี่ยมทุกหลังคาเรือน และต้องนำฟิล์มโลหิตกลับมาตรวจยังสำนักงาน เป็นกิจกรรมเฉพาะกิจเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่เมื่อมีปัญหาภาวะไข้มาลาเรียสูงผิดปกติหรือเมื่อคาดว่าจะเกิดภาวะไข้สูงขึ้น มาลาเรียคลินิกเคลื่อนที่ เป็นการเจาะโลหิตประชาชนในหมู่บ้าน พร้อมอุปกรณ์สำหรับวินิจฉัยเชื้อมาลาเรีย ให้การบำบัดรักษา และสอบประวัติผู้ป่วยมาลาเรีย โดยไม่ต้องนำฟิล์มโลหิตกลับมาตรวจยังสำนักงาน ดำเนินการในกรณีที่ต้องการค้นหาและรักษาผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว การเจาะโลหิตหมู่ เป็นกิจกรรมหนึ่งของการสอบสวนแหล่งแพร่เชื้อ เพื่อสอบสวนและประเมินสถานการณ์โรค และเป็นโอกาสค้นหาผู้ป่วยมาลาเรียที่ไม่ได้ตรวจพบครั้งก่อน เพื่อให้การบำบัดรักษา การเจาะโลหิตขณะไปสอบประวัติผู้ป่วย เป็นการเจาะโลหิตผู้ที่เสี่ยงต่อการติดโรครอบๆบ้านผู้ป่วยขณะไปสอบประวัติผู้ป่วยในหมู่บ้าน โดยมุ่งหวังผลพลอยได้ในการค้นหาผู้ป่วยให้ได้มากขึ้น
1.2 การค้นหาผู้ป่วยทางอ้อม เป็นการค้นหาผู้ป่วยเชิงรับ โดยประชาชนเป็นผู้มารับบริการตรวจรักษาที่สถานบริการต่าง ๆ ในลักษณะเจาะโลหิตตรวจรักษาทันที หรือเจาะโลหิตส่งตรวจและรักษาภายใน 7 วัน ตามสถานบริการต่างๆ เช่น มาลาเรียคลินิก หรือ มาลาเรียคลินิกชุมชน เป็นสถานบริการเจาะโลหิตตรวจรักษาทันที ละในบางแห่งให้บริการนอกเวลาราชการด้วย ซึ่งขึ้นกับศักยภาพของแต่ละแห่ง โรงพยาบาล เป็นสถานบริการเจาะโลหิต ตรวจรักษาทันที สถานีอนามัย เป็นสถานบริการเจาะโลหิต ตรวจรักษาทันที หรือเจาะโลหิตส่งตรวจและรักษาภายใน 7 วัน อาสาสมัคร อาสาสมัครเป็นผู้ให้บริการเจาะโลหิตส่งตรวจเพื่อบำบัดรักษาภายใน 7 วัน และแนะนำสถานที่ตรวจรักษาแก่ผู้ป่วย ให้คำแนะนำในการควบคุมป้องกันไข้มาลาเรียแก่ประชาชนและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันไข้มาลาเรียของเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครมี 2 ประเภท คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครมาลาเรียประจำหมู่บ้าน (อมม.)
2.การติดตามผลการรักษาผู้ป่วย คือการติดตามเจาะโลหิตผู้ป่วย เพื่อตรวจซ้ำในระยะ 1-3 เดือน เพื่อติดตามผลการรักษา หลังจากผู้ป่วยได้รับยารักษาขั้นหายขาดแล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยรายนั้นหายขาดจากโรคมาลาเรีย รายที่ตรวจพบเชื้อซ้ำอีกจะได้รับการรักษาซ้ำเพื่อมิให้กลับป่วยขึ้นอีกและไม่ให้แพร่โรคไปสู่ผู้อื่น ชนิดและการจ่ายยาให้ดูในคู่มือการรักษามาลาเรียฉบับปัจจุบัน ดำเนินการโดยนัดผู้ป่วยพบเชื้อทุกรายมารับการเจาะโลหิตซ้ำที่มาลาเรียคลินิกหรือสถานบริการอื่น ๆ หากผู้ป่วยไม่มาให้ไปติดตามเจาะโลหิตที่บ้านผู้ป่วย
3. การสอบประวัติผู้ป่วย หมายถึง การสอบถามผู้ป่วยที่พบเชื้อมาลาเรียทุกรายเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องตามแบบฟอร์มรายงาน เพื่อทราบสาเหตุและชนิดของการติดเชื้อเพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมโรคต่อไป
มาตรการต่อยุงพาหะ มาตรการควบคุมยุงพาหะนำไข้มาลาเรีย มีการควบคุมทั้งยุงพาหะตัวเต็มวัยและลูกน้ำยุงพาหะ โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน 3 ประการ คือ เพื่อลดความหนาแน่นของยุงพาหะ เพื่อลดอายุขัยของยุงพาหะ และเพื่อลดการสัมผัสระหว่างคนและยุงพาหะ กิจกรรมในการควบคุมยุงพาหะพิจารณาตามความเหมาะสมทางด้านระบาดวิทยา กีฏวิทยา ประชากร สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ มีกิจกรรมหลายลักษณะที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่
1. การพ่นเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้าง เป็นการพ่นเคมีให้มีฤทธิ์ตกค้างบนพื้นผิว อาคาร บ้านเรือน กระท่อม เพิง ที่พักอาศัย เฉพาะพื้นผิวที่ยุงพาหะในพื้นที่ชอบเกาะพัก เป็นมาตรการสำคัญที่ใช้ควบคุมยุงพาหะของท้องที่มีการแพร่เชื้อสูง หรือท้องที่ที่อาจจะเกิดมีการตายด้วยมาลาเรียได้ โดยพ่นเคมีก่อนฤดูกาลแพร่เชื้อหนึ่งเดือน และพ่นทันทีสำหรับท้องที่ซึ่งไม่มีการแพร่เชื้อที่พบว่ากลับมีการแพร่เชื้ออีก สารเคมีที่ใช้ คือ เดลตาเมทริน 5% wdp. พ่นบนพื้นผิวภายในอาคารบ้านเรือนให้มีสารออกฤทธิ์ติดพื้นผิวขนาด20มิลลิกรัมต่อตารางเมตร ปีละ1หรือ2รอบ
2. การใช้มุ้งชุบสารเคมี มุ้งที่ชุบสารเคมีใช้สำหรับการควบคุมยุงพาหะระยะตัวเต็มวัย มักดำเนินการในกลุ่มบ้านหรือหมู่บ้านที่สำรวจแล้วพบว่ามีการใช้มุ้ง 70% ของหลังคาเรือนขึ้นไป หรือเป็นท้องที่ที่มีประชาชนใช้มุ้งอัตราส่วนไม่เกิน 3 คนต่อมุ้ง 1 หลัง สารเคมีที่ใช้ชุบมุ้ง คือเพอร์เมทริน 10% ชนิดน้ำมัน ใช้ชุบมุ้งให้มีสารออกฤทธิ์ขนาด 300 มิลลิกรัมต่อตารางเมตร ระยะเวลาที่ทำการชุบมุ้งต้องทำให้เสร็จก่อนฤดูกาลแพร่เชื้อไม่เกิน 1 เดือน ดำเนินการ 1-2 รอบต่อปี เช่นเดียวกับการพ่นบ้าน
3. การพ่นหมอกควัน เป็นการใช้เครื่องพ่นสารเคมีชนิดเป็นฝอยละอองผ่านความร้อนออกมาเป็นควันเมื่อถูกกับยุงพาหะทำให้ตายทันที ดำเนินการในท้องที่ที่มีการแพร่เชื้อ และพบว่ามียุงพาหะหลักซึ่งมีชีวนิสัยกัดคนในบ้าน เป็นท้องที่ชุมชนหนาแน่น ประชาชนยอมรับการพ่นหมอกควันหรือถ้ามีการพบผู้ป่วยมาลาเรียมากผิดปกติ หรือถ้ามีการระบาดของไข้มาลาเรียในท้องที่ไม่มีการแพร่เชื้อไข้มาลาเรียแล้ว จะพ่นหมอกควัน 4-6 ครั้งต่อแห่ง ระยะเวลาแต่ละครั้งห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์ โดยมักพ่นหมอกควันในระยะเวลาที่ยุงพาหะออกหากิน เช่น พลบค่ำ สารเคมีที่ใช้พ่นหมอกควัน คือ สารเคมีกลุ่มไพริทรอยด์ เช่น เดลตาเมทริน 0.5 % ชนิดน้ำมัน
4. การควบคุมทางชีววิธี หมายถึง การนำสิ่งมีชีวิตมาใช้ควบคุมยุงพาหะโดยเฉพาะในระยะที่เป็นลูกน้ำ โดยใช้ปลาหางนกยูง ปลาแกมบูเซีย และปลาหัวตะกั่ว ปล่อยในแหล่งน้ำที่พบหรือสงสัยว่าจะมีการเพาะพันธุ์ของยุงพาหะ (ยกเว้นแหล่งน้ำของยุง An. dirus ซึ่งมักค้นหาไม่พบ) และปล่อยในฤดูกาล ที่มีแหล่งน้ำเหมาะสมซึ่งปลาสามารถมีชีวิตอยู่ และขยายพันธุ์ได้ การใช้ปลากินลูกน้ำให้ปล่อยปลาซ้ำที่เดิมแห่งละ 3-4 ครั้ง ๆ ละประมาณ 100-200 ตัว แต่ละครั้งปล่อยปลาห่างกันประมาณ 1 เดือน
5. การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (Environmental management) การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมยุงพาหะมีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะ หรือลดปริมาณของยุงพาหะลงซึ่งจะมีผลถึงการลดการติดเชื้อมาลาเรียในพื้นที่ลงด้วย มีแบบเปลี่ยนแปลงที่ถาวร ได้แก่ การระบายน้ำ การกลบถมแหล่งเพาะพันธุ์ การปรับสภาพและระดับผิวดิน และการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว เช่น การเปลี่ยนความเป็นกรดด่างของน้ำ การระบายน้ำ การปรับระดับน้ำ การผันกระแสน้ำ เป็นต้น การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมต้องลงทุนค่อนข้างสูง และต้องได้รับความร่วมมือจากชุมชนและ/หรือองค์กรในท้องถิ่นนั้น ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเป็นอย่างดีเพราะต้องมีการซ่อมบำรุงและดูแลอย่างใกล้ชิด
6. การใช้สารฆ่าลูกน้ำ เป็นการใช้สารเคมีหรือใช้จุลินทรีย์บางชนิด ใส่ในแหล่งน้ำแล้วสามารถฆ่าลูกน้ำในแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะได้ ทั้งนี้ประชาชนต้องไม่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำนั้นเพื่อการบริโภคและอุปโภคในชีวิตประจำวัน สารเคมีต้องไม่เป็นอันตรายต่อคนหรือสัตว์น้ำ ปัจจุบันสารเคมีที่ใช้ควบคุมลูกน้ำยุงพาหะคือ ทีมีฟอส (Temephos) หรือเอเบท (Abate) ใช้ในขนาด 1 ส่วนต่อน้ำหนึ่งล้านส่วน (1 ppm=part per million) ดำเนินการในแหล่งน้ำแห่งละ 4-6 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ และควรทำในช่วงก่อนมีการแพร่เชื้อสูง หรือมีผู้ป่วยเกิดขึ้นมาก ปัจจุบันนี้มีพื้นที่ที่เหมาะสมในการเลือกใช้วิธีนี้น้อยมาก
โรคไข้มาลาเรีย(5)
การรักษาโรคมาลาเรีย
การป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียการป้องกันตนเองด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ถูกยุงกัด เป็นการลดโอกาสเสี่ยงการเป็นไข้มาลาเรียและลดการแพร่เชื้อไข้มาลาเรียจากผู้ที่ป่วยเป็นไข้มาลาเรีย ไปยังบุคคลอื่น มีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ 1.การนอนในมุ้ง การใช้มุ้งป้องกันการเกิดโรคจากยุงกัดได้มีมาหลายร้อยปีแล้ว มุ้งที่ใช้ควรอยู่ในสภาพดีไม่มีรูขาดและเสียหาย ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันลดลง ขนาดของเส้นด้ายที่ทำมุ้งควรมีขนาดประมาณ 1-1.8 มิลลิเมตร และจำนวนของตาข่ายไม่ควรต่ำกว่า 156 รูต่อตารางนิ้ว ซึ่งจะทำให้ไม่ร้อนอากาศสามารถผ่านได้ แต่ถ้าจำนวนรูตาข่ายมีมากกว่านี้ก็จะสามารถป้องกันแมลงที่มีขนาดเล็กได้ สำหรับมุ้งขนาดมาตรฐานทั่วไปมีพื้นที่ประมาณ 14 ตารางเมตร องค์ประกอบอื่น ๆ ของมุ้ง เช่น วัสดุที่ใช้ทำมุ้งอาจเป็นเส้นใยสังเคราะห์ หรือทำจากเส้นใยฝ้าย รูปแบบของมุ้งมีหลากหลาย เช่น มุ้งรูปทรงสี่เหลี่ยม มุ้งรูปทรงกลม มุ้งสำหรับคนเดินป่า หรือมุ้งทหาร มุ้งประกอบเปลสำหรับผูกนอนกับต้นไม้ หรือเปลที่เย็บมุ้งติดไว้ด้วยกัน
การควบคุม
1. การประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์เป็นการสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชน ก่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานต่อหน่วยงาน เป็นการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจและสร้างศรัทธา เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง โดยเน้นให้มีการป้องกันตนเอง ร่วมมือและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมไข้มาลาเรีย การประชาสัมพันธ์ใช้ช่องทางผ่านสื่อหลากหลาย เช่น สื่อมวลชน มุ่งเน้นสื่อที่สามารถครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายได้กว้าง เช่น วิทยุโทรทัศน์ เสียงตามสาย เคเบิลทีวี หนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ หอกระจายข่าว เป็นช่องทางสื่อที่มีอยู่ในชุมชนแล้ว ใช้เป็นแหล่งให้ข้อมูลข่าวสารที่ใกล้ชิดกับประชาชนในชุมชน โปสเตอร์ เอกสารและสิ่งพิมพ์ เป็นการถ่ายทอดความรู้ ไปสู่บุคคล กลุ่มคนหรือชุมชน และเป็นแหล่งความรู้ของประชาชนมีโอกาสได้เห็น ได้อ่านอยู่เป็นประจำ อันจะนำไปสู่การถ่ายทอดความรู้จากคนหนึ่งไปสู่คนอื่น ๆ ในชุมชน
2. การสุขศึกษา การสุขศึกษา เป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ มีกิจกรรมดำเนินการอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ พฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ พฤติกรรมป้องกันโรค พฤติกรรมการเจ็บป่วย พฤติกรรมการรักษาพยาบาล สิ่งแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจมีอิทธิพลสูงมากในการกำหนดพฤติกรรมสุขภาพ จึงจำเป็นต้องกระตุ้นให้มีการเรียนรู้และตระหนักถึงสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ การสุขศึกษาในหมู่บ้าน เพื่อให้ความรู้ ทำให้เกิดความเข้าใจ แก่ประชาชนและกลุ่มผู้นำในหมู่บ้านเกี่ยวกับสถานการณ์ไข้มาลาเรีย เพื่อให้พร้อมที่จะร่วมมือและมีส่วนร่วมในการควบคุมไข้มาลาเรีย เช่น ชี้แจงประชาชนให้เห็นความสำคัญของการพ่นสารเคมี การสุขศึกษาในโรงเรียน เพื่อให้กลุ่มครูและนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนร่วมมือ และมีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุมไข้มาลาเรีย ร่วมกับการประชุม/อบรมครูในโรงเรียน ให้ทราบและมองเห็นความสำคัญของปัญหา และร่วมกันแก้ไข และโรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมที่นักเรียนมีส่วนร่วม เช่น การเลี้ยงปลา ปล่อยปลา ประกวดเรียงความ การสุขศึกษาในมาลาเรียคลินิก เพื่อให้ผู้ป่วยรับประทานยาให้ครบและมาเจาะโลหิตตามนัด ป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อมาลาเรียในคราวต่อไป และเพื่อให้ผู้รับบริการรายอื่น มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการป้องกันตนเอง การให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการควบคุมไข้มาลาเรีย การสุขศึกษาในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติรู้จักป้องกันตนเองไม่ติดเชื้อไข้มาลาเรียเมื่อเข้าไปในแหล่งท่องเที่ยว มีเอกสารแผ่นพับ และบัตรขนาดพกพา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เรื่องการป้องกันไข้มาลาเรีย รวมทั้งให้ความรู้กับกลุ่มชนและบริษัทท่องเที่ยวหรือชมรมท่องเที่ยว และ เน้นในเรื่องยากินป้องกันมาลาเรียว่าไม่สามารถป้องกันได้เต็มที่ การสุขศึกษาในชนกลุ่มน้อย เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการให้ความรู้ เกิดความเข้าใจ และทำความเข้าใจกับชุมชนกลุ่มน้อยในเรื่องไข้มาลาเรีย รวมทั้งให้รู้จักป้องกันตนเองตามสภาพปัญหาของพื้นที่และให้เหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรม ประเพณี ของกลุ่มชนนั้นด้วย
3. การรณรงค์ป้องกันไข้มาลาเรีย การรณรงค์ไข้มาลาเรีย จัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม เป็นการดำเนินการหลายกิจกรรมพร้อมกันเพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจไปสู่ประชาชนให้มองเห็นความสำคัญของปัญหา เพื่อให้ประชาชนได้เห็น ได้ยิน ได้พูด ได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อกระตุ้นเตือนประชาชน กลุ่มผู้นำ อาสาสมัครให้ตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน และพร้อมที่จะป้องกันตนเองและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมไข้มาลาเรีย
4. การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการจัดให้มีกิจกรรมควบคุมป้องกันโรคโดยประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างเต็มที่จนสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด โดยเป็นกิจกรรมที่จำเป็นและเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้สมเหตุผลทางวิชาการ สังคมยอมรับและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ดำเนินการครอบคลุมประชาชนทุกคนและทุกครัวเรือนในชุมชน ประชาชนจึงควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาไข้มาลาเรียในหมู่บ้านให้ลดน้อยหรือหมดไปจากหมู่บ้าน เช่น การร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ปล่อยปลา เป็นต้น จัดให้มีและพัฒนาอาสาสมัคร บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครมาลาเรีย (อมม.)คือ ให้บริการเจาะโลหิตส่งตรวจในรายที่สงสัยเป็นไข้มาลาเรีย แนะนำให้ความรู้และมีส่วนร่วมในการควบคุมไข้มาลาเรีย ส่งต่อผู้ป่วยและแนะนำสถานบริการตรวจรักษาที่เหมาะสม การส่งเสริมการป้องกันตนเอง เพื่อส่งเสริมสนับสนุนประชาชนให้มีมุ้งใช้อย่างเพียงพอ และรู้จักใช้มุ้งชุบสารเคมี เพื่อส่งเสริมสนับสนุนประชาชนให้รู้จักใช้ยาทากันยุง ตลอดจนนำมุ้งและยาทากันไปใช้ในกรณีต้องเข้าไปพักแรมในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย เพื่อส่งเสริมประชาชนให้จัดทำมุ้งลวดหรือมุ้งไนลอนป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามากัดในบ้าน โดยอาจจัดให้มีมุ้งและยาทากันยุงจำหน่ายในหมู่บ้าน เพื่อประชาชนหาซื้อได้สะดวก และราคาไม่แพง และแนะนำส่งเสริมประชาชนจัดทำมุ้งลวด หมู่บ้านพึ่งตนเองในการป้องกันไข้มาลาเรีย (หมู่บ้าน พปม.) มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
2.เพื่อแก้ปัญหาไข้มาลาเรียในพื้นที่ให้ลดน้อยลงหรือหมดไปจากหมู่บ้าน การจัดตั้งกองทุนจัดซื้อ-จัดขายมุ้งและยาทากันยุง หรือติดต่อ
3.ประสานงานกองทุนอื่นในหมู่บ้านให้มีการจัดซื้อ-ขายมุ้ง และยาทากันยุง
โรคไข้มาลาเรีย(4)
ประวัติโรคมาลาเรีย
โรคมาลาเรียเป็นโรคที่ระบาดและคุกคามมาตั้งแต่เมื่อ 1,500 ปีก่อน แพทย์ชกรีกชื่อ Hippocrates ได้พบว่า มาลาเรียเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากการที่ผู้ป่วยใช้ชีวิตใกล้ชิดกับบริเวณที่มีน้ำนิ่ง แต่ Hippocrates ไม่รู้ว่าโรคนี้มีสาเหตุที่แท้จริงมาจากเชื้อปรสิตในยุง นอกจากนี้กรุงโรมในอดีตเมื่อ 700 ปีก่อนก็เคยถูกคุกคามด้วยโรคมาลาเรีย จนกระทั่งทางรัฐบาลต้องออกกฎให้กำจัดแหล่งน้ำเน่าในเมืองให้หมด ชาวโรมันในสมัยนั้นจึงได้ตั้งชื่อโรคร้ายนี้ว่า มาลาเรีย (malaria) ซึ่งมาจากการสนธิคำว่า “mal” ที่แปลว่า “เสีย” กับคำว่า “aria” ที่แปลว่า “อากาศ” เพราะในสมัยนั้นเชื่อว่า อากาศเสียคือสาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคนี้ ในปี พ.ศ. 2423 Charles-Louis-Alphonse Laveran แพทย์ทหารชาวฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ที่ประเทศ Algeria ได้สังเกตเห็นเชื้อมาลาเรียในเลือดของคนป่วย โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ แต่เขาไม่รู้ว่าเชื้อโรคที่เห็นนั้นมาจากแหล่งใด อย่างไรก็ตาม ความลึกลับเกี่ยวกับที่มาของโรคมาลาเรียได้ถูกเปิดเผยเป็นครั้งแรก โดย Giovanni Battista Grassi นักชีววิทยาชาว อิตาเลียน พบยุงก้นปล่องตัวเมีย (Anopheles spp.) และในขณะเดียวกัน Ronald Ross นักจุลชีววิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ที่โรงพยาบาล Hyderabad ในประเทศอินเดีย เมื่อ Ross สามารถพิสูจน์ได้ว่าเชื้อพยาธิที่ Laveran เห็นนั้นมาจากการที่คนถูกยุงก้นปล่องกัด การค้นพบนี้ทำให้ Ross ได้รับรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์
ยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย
ยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย ในประเทศไทย คือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles spp.) ที่เรียกอย่างนี้ เพราะเวลาที่ยุงกัดคน มันจะเกาะโดยยกก้นขึ้นทำมุมกับผิวหนัง 45 องศา
ลักษณะการเกาะของ ยุงก้นปล่องขณะดูดกินเลือด
ยุงก้นปล่อง ที่เป็นพาหะหลักของการนำเชื้อโรคมาลาเรียที่สำคัญ ได้แก่
1. Anopheles dirus ตัวเมีย ส่วนของปาก ( proboscis) จะยาวเกือบเท่าระยางค์ปาก ( maxillary palpi ) และส่วนปลายอก ( scutellum ) จะโค้งเรียบไม่มี รอยหยัก ส่วนขาจะขาลายทั้ง 3 คู่ ข้อต่อระหว่างขาคู่หลังตรงส่วน Tibia และ Tarsi จะมีปื้นขาวยาวมาก เห็นได้ชัดเจน Anopheles Dirus พบในป่าทึบชอบออกไข่ตามแอ่งน้ำนิ่งขังตามธรรมชาติ ลักษณะนิสัยชอบกินเลือดคนมาก ไม่ชอบกินเลือดสัตว์อื่นออกหากินตอนกลางคืนถึงเช้ามืด แต่ถ้าป่าทึบมาก ๆ ก็หากินช่วงกลางวันด้วย ยุงชนิดนี้ เป็นชนิดที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อมาลาเรียมากกว่ายุงพาหะชนิดอื่นในประเทศไทย
ยุงมีปากที่เป็นท่อแหลมสำหรับดูดเลือดจากคนเพื่อเอาโปรตีนไปสร้างไข่ ยุงตัวเมียมักออกหาเหยื่อเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นท่อเจาะผิวหนังเพื่อดูดกินเลือด กระบวนการนี้ ตามปรกติจะดำเนินไปโดยเหยื่อไม่รู้ตัว เนื่องจากยุงจะปล่อยน้ำลายออกมา เพื่อทำหน้าที่เป็นยาชา ทำให้คนถูกกัดไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งน้ำลายนี่เองที่มีเชื้อมาลาเรีย โดยยุงได้เชื้อนี้จากคนที่มันไปกัดมาก่อน
เชื้อมาลาเรีย ในปัจจุบันนี้ วิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น ทำให้เราทราบว่าไข้มาลาเรียเกิดจากเชื้อปรสิต สกุล Plasmodium 4 ชนิดได้แก่ falciparum, vivax, ovale และmalaria โดย falciparum และ malaria จะทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงทุกระยะ แต่ vivax, ovale นั้น จะฆ่าเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์เท่านั้น โดยเชื้อที่มีความสำคัญในบ้านเรามี 2 ชนิด คือ Plasmodium falciparum กับ Plasmodium vivax
วงชีวิตของเชื้อมาลาเรีย
การติดเชื้อมาลาเรีย เริ่มเมื่อยุงที่ติดเชื้อ Plasmodium falciparum มากัดมนุษย์และปล่อยเชื้อมาลาเรียระยะ sporozoite เข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นเชื้อระยะ sporozoite จะเข้าสู่เซลล์ตับ (hepatocyte) เพื่อเจริญเติบโตและแบ่งตัว (asexual multication) จนได้เซลล์เล็กๆจำนวนมากมาย ซึ่งเรียกว่า merazoite และเรียกเชื้อระยะนี้ว่า schizont เมื่อเชื้อระยะ schizont แตก จะปลดปล่อย merozoite จำนวนมากมายเข้าสู่กระแสเลีอด merozoite จะรุกรานเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง เจริญเติบโตเป็นเชื้อระยะ ring form, trophozoite และ schizont ซึ่งภายในมี merozoite จำนวนมากมาย เมื่อ schizont เจริญเติบโตเต็มที่จะแตกและปลดปล่อย merozoite จำนวนมากมาย จากนั้น merozoite เหล่านี้ จะรุกรานเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงอีกครั้งและดำเนินวงจรชีวิตในกระแสเลือด (erythrocytic cycle) ต่อไป อย่างไรก็ตาม จะมีเชื้อบางส่วนที่จะพัฒนาเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย เมื่อยุงก้นปล่อง (Anopheles) กัดมนุษย์ที่ติดเชื้อมาลาเรีย ก็จะได้รับเชื้อระยะเซลล์สืบพันธุ์เข้าไป เซลล์สืบพันธุ์ดังกล่าวจะปฏิสนธิกลายเป็น zygote ภายในทางเดินอาหารส่วนกลาง (midgut) ของยุง จากนั้น zygote จะพัฒนาต่อไปเป็นเชื้อระยะ ookinete ซึ่งจะไชทะลุผนังของทางเดินอาหารกลายเป็น oocyst ซึ่งภายในมีเชื้อระยะ sporozoite เมี่อ oocyst เจริญเติบโดเต็มที่แล้วจะปลดปล่อยเชื้อระยะ sporozoite ซี่งจะเคลี่อนที่เข้าสู่ต่อมน้ำลายของยุง และเมี่อยุงกัดมนุษย์ เชื้อระยะ sporozoite ก็จะถ่ายทอดเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ต่อไป
เม็ดเลือดแดงที่ถูกเชื้อมาลาเรียทำลาย
Plasmodium falcifalum
อาการและอาการแสดงของโรค อาการและอาการแสดงของโรคมาลาเรียไม่มีลักษณะพิเศษบ่งเฉพาะ โดยมากจะมีอาการนำคล้ายกับคนเป็นไข้หวัด คือ มีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว และกล้ามเนื้อ อาจมีอาการคลื่นไส้เบื่ออาหารได้ อาการนี้จะเป็นเพียงระยะสั้นเป็นวัน หรือหลายวันได้ ขึ้นอยู่กับระยะฟักตัวของเชื้อ ชนิดของเชื้อ จำนวนของสปอโรซอยต์ที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไป ภาวะภูมิต้านทานต่อเชื้อมาลาเรียของผู้ป่วย ภาวะที่ผู้ป่วยได้รับยาป้องกันมาลาเรียมาก่อน หรือได้รับยารักษามาลาเรียมาบ้างแล้ว อาการไข้ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดของมาลาเรีย ประกอบด้วย 3 ระยะคือ 1. ระยะสั่น ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น ปากและตัวสั่น ซีด ผิวหนังแห้งหยาบ อาจจะเกิดขึ้นนานประมาณ 15 – 60 นาที ระยะนี้ตรงกับการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรีย 2. ระยะร้อน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หน้าแดง ระยะนี้ใช้เวลา 2 – 6 ชั่วโมง 3. ระยะเหงื่อออก ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออกจนชุ่มที่นอน หลังจากระยะเหงื่อออก จะมีอาการอ่อนเพลีย ไข้ลด ปัจจุบันนี้จะพบลักษณะทั้ง 3 ระยะได้น้อยมาก ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอยตลอดเวลา โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นมาลาเรียครั้งแรก เนื่องจากในระยะแรกของการติดเชื้อมาลาเรีย เชื้ออาจเจริญถึงระยะแก่ไม่พร้อมกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากได้รับเชื้อในเวลาต่างกัน เชื้อจึงเจริญในเม็ดเลือดแดงไม่พร้อมกัน ทำให้เกิดมีเชื้อหลายระยะ การแตกของเม็ดเลือดแดงจึงไม่พร้อมกัน ผู้ป่วยมาลาเรียในระยะแรกอาจมีไข้สูงลอยตลอดวันแต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งแล้ว การแตกของเม็ดเลือดแดงเกิดขึ้นพร้อมกัน จะเห็นผู้ป่วยมีการจับไข้หนาวสั่นเป็นเวลา แยกได้ชัดเจนตามชนิดของเชื้อมาลาเรีย เชื้อไวแวกซ์ ฟัสซิพารัม และโอวัลเล่ ใช้เวลาในการแบ่งตัว 48 ชั่วโมง จึงทำให้เกิดไข้ทุกวันที่ 3 ส่วนมาลาริอี ใช้เวลา 72 ชั่วโมง อาการไข้จึงเกิดทุกวันที่ 4 ภายหลังที่เป็นมาลาเรียได้ระยะหนึ่ง จะตรวจพบว่าผู้ป่วยซีด บางคนมีตัวเหลือง ตาเหลือง ตับและม้ามโต บางรายกดเจ็บ ถ้าเม็ดเลือดแดงแตกมากๆ จะพบว่าผู้ป่วยมีปัสสาวะดำ
การดำเนินโรคมาลาเรียฟัลซิพารัมมาลาเรีย (P.Falciparum)
การติดเชื้อผสม (mixed infections)
ที่มาจาก:
โรคไข้มาลาเรีย(3)
เชื้อมาลาเรีย ในปัจจุบันนี้ วิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น ทำให้เราทราบว่าไข้มาลาเรียเกิดจากเชื้อปรสิต สกุล Plasmodium 4 ชนิดได้แก่ falciparum, vivax, ovale และmalaria โดย falciparum และ malaria จะทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงทุกระยะ แต่ vivax, ovale นั้น จะฆ่าเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์เท่านั้น โดยเชื้อที่มีความสำคัญในบ้านเรามี 2 ชนิด คือ Plasmodium falciparum กับ Plasmodium vivax
วงชีวิตของเชื้อมาลาเรีย
การติดเชื้อมาลาเรีย เริ่มเมื่อยุงที่ติดเชื้อ Plasmodium falciparum มากัดมนุษย์และปล่อยเชื้อมาลาเรียระยะ sporozoite เข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นเชื้อระยะ sporozoite จะเข้าสู่เซลล์ตับ (hepatocyte) เพื่อเจริญเติบโตและแบ่งตัว (asexual multication) จนได้เซลล์เล็กๆจำนวนมากมาย ซึ่งเรียกว่า merazoite และเรียกเชื้อระยะนี้ว่า schizont เมื่อเชื้อระยะ schizont แตก จะปลดปล่อย merozoite จำนวนมากมายเข้าสู่กระแสเลีอด merozoite จะรุกรานเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง เจริญเติบโตเป็นเชื้อระยะ ring form, trophozoite และ schizont ซึ่งภายในมี merozoite จำนวนมากมาย เมื่อ schizont เจริญเติบโตเต็มที่จะแตกและปลดปล่อย merozoite จำนวนมากมาย จากนั้น merozoite เหล่านี้ จะรุกรานเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงอีกครั้งและดำเนินวงจรชีวิตในกระแสเลือด (erythrocytic cycle) ต่อไป อย่างไรก็ตาม จะมีเชื้อบางส่วนที่จะพัฒนาเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย เมื่อยุงก้นปล่อง (Anopheles) กัดมนุษย์ที่ติดเชื้อมาลาเรีย ก็จะได้รับเชื้อระยะเซลล์สืบพันธุ์เข้าไป เซลล์สืบพันธุ์ดังกล่าวจะปฏิสนธิกลายเป็น zygote ภายในทางเดินอาหารส่วนกลาง (midgut) ของยุง จากนั้น zygote จะพัฒนาต่อไปเป็นเชื้อระยะ ookinete ซึ่งจะไชทะลุผนังของทางเดินอาหารกลายเป็น oocyst ซึ่งภายในมีเชื้อระยะ sporozoite เมี่อ oocyst เจริญเติบโดเต็มที่แล้วจะปลดปล่อยเชื้อระยะ sporozoite ซี่งจะเคลี่อนที่เข้าสู่ต่อมน้ำลายของยุง และเมี่อยุงกัดมนุษย์ เชื้อระยะ sporozoite ก็จะถ่ายทอดเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ต่อไป
Plasmodium falcifalum
โรคไข้มาลาเรีย(2)
ยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย
ยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย ในประเทศไทย คือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles spp.) ที่เรียกอย่างนี้ เพราะเวลาที่ยุงกัดคน มันจะเกาะโดยยกก้นขึ้นทำมุมกับผิวหนัง 45 องศา
1. Anopheles dirus ตัวเมีย ส่วนของปาก ( proboscis) จะยาวเกือบเท่าระยางค์ปาก ( maxillary palpi ) และส่วนปลายอก ( scutellum ) จะโค้งเรียบไม่มี รอยหยัก ส่วนขาจะขาลายทั้ง 3 คู่ ข้อต่อระหว่างขาคู่หลังตรงส่วน Tibia และ Tarsi จะมีปื้นขาวยาวมาก เห็นได้ชัดเจน Anopheles Dirus พบในป่าทึบชอบออกไข่ตามแอ่งน้ำนิ่งขังตามธรรมชาติ ลักษณะนิสัยชอบกินเลือดคนมาก ไม่ชอบกินเลือดสัตว์อื่นออกหากินตอนกลางคืนถึงเช้ามืด แต่ถ้าป่าทึบมาก ๆ ก็หากินช่วงกลางวันด้วย ยุงชนิดนี้ เป็นชนิดที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อมาลาเรียมากกว่ายุงพาหะชนิดอื่นในประเทศไทย
2. Anopheles minimus ลักษณะปาก,ระยางค์ปากและส่วนปลายของอกคล้าย An.dirus แต่ส่วนของปากและขาดำตลอด Anopheles Minimus พบตามชายป่า ชอบวางไข่ในลำธาร น้ำใส ไหลเอื่อย ๆ ยุง Anopheles จะชอบออกไข่ในน้ำนิ่ง ดังนั้น วิธีหนึ่งที่เราจะช่วยกำจัดมาลาเรียคือ ทำลายแหล่งน้ำนิ่งทั้งในและนอกบ้านให้หมดสิ้น
3.Anophelesmaculatus ลักษณะปาก,ระยางค์ปาก และส่วนปลายของอกคล้าย An.dirus แต่ลักษณะของขาจะลายทั้ง 3 คู่ ขาคู่หลังจะมีปื้นขาวที่ส่วนปลาย
4.Anopheles sundaicus ลักษณะปาก,ระยางค์ปาก และส่วนปลายของอก คล้าย An.dirus แต่ลักษณะของขาทุกขา จะมีจุดขาวเป็นกระไม่มีปื้นขาวเลย
ยุงมีปากที่เป็นท่อแหลมสำหรับดูดเลือดจากคนเพื่อเอาโปรตีนไปสร้างไข่ ยุงตัวเมียมักออกหาเหยื่อเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นท่อเจาะผิวหนังเพื่อดูดกินเลือด กระบวนการนี้ ตามปรกติจะดำเนินไปโดยเหยื่อไม่รู้ตัว เนื่องจากยุงจะปล่อยน้ำลายออกมา เพื่อทำหน้าที่เป็นยาชา ทำให้คนถูกกัดไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งน้ำลายนี่เองที่มีเชื้อมาลาเรีย โดยยุงได้เชื้อนี้จากคนที่มันไปกัดมาก่อน
โรคไข้มาลาเรีย
ประวัติโรคมาลาเรีย
โรคมาลาเรียเป็นโรคที่ระบาดและคุกคามมาตั้งแต่เมื่อ 1,500 ปีก่อน แพทย์ชกรีกชื่อ Hippocrates ได้พบว่า มาลาเรียเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากการที่ผู้ป่วยใช้ชีวิตใกล้ชิดกับบริเวณที่มีน้ำนิ่ง แต่ Hippocrates ไม่รู้ว่าโรคนี้มีสาเหตุที่แท้จริงมาจากเชื้อปรสิตในยุง นอกจากนี้กรุงโรมในอดีตเมื่อ 700 ปีก่อนก็เคยถูกคุกคามด้วยโรคมาลาเรีย จนกระทั่งทางรัฐบาลต้องออกกฎให้กำจัดแหล่งน้ำเน่าในเมืองให้หมด ชาวโรมันในสมัยนั้นจึงได้ตั้งชื่อโรคร้ายนี้ว่า มาลาเรีย (malaria) ซึ่งมาจากการสนธิคำว่า “mal” ที่แปลว่า “เสีย” กับคำว่า “aria” ที่แปลว่า “อากาศ” เพราะในสมัยนั้นเชื่อว่า อากาศเสียคือสาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคนี้ ในปี พ.ศ. 2423 Charles-Louis-Alphonse Laveran แพทย์ทหารชาวฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ที่ประเทศ Algeria ได้สังเกตเห็นเชื้อมาลาเรียในเลือดของคนป่วย โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ แต่เขาไม่รู้ว่าเชื้อโรคที่เห็นนั้นมาจากแหล่งใด อย่างไรก็ตาม ความลึกลับเกี่ยวกับที่มาของโรคมาลาเรียได้ถูกเปิดเผยเป็นครั้งแรก โดย Giovanni Battista Grassi นักชีววิทยาชาว อิตาเลียน พบยุงก้นปล่องตัวเมีย (Anopheles spp.) และในขณะเดียวกัน Ronald Ross นักจุลชีววิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ที่โรงพยาบาล Hyderabad ในประเทศอินเดีย เมื่อ Ross สามารถพิสูจน์ได้ว่าเชื้อพยาธิที่ Laveran เห็นนั้นมาจากการที่คนถูกยุงก้นปล่องกัด การค้นพบนี้ทำให้ Ross ได้รับรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์
ยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย
ยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย ในประเทศไทย คือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles spp.) ที่เรียกอย่างนี้ เพราะเวลาที่ยุงกัดคน มันจะเกาะโดยยกก้นขึ้นทำมุมกับผิวหนัง 45 องศา
ลักษณะการเกาะของ ยุงก้นปล่องขณะดูดกินเลือด
ยุงก้นปล่อง ที่เป็นพาหะหลักของการนำเชื้อโรคมาลาเรียที่สำคัญ ได้แก่1. Anopheles dirus 2. Anopheles minimus 3. Anopheles maculatus 4. Anopheles sundaicus
1. Anopheles dirus ตัวเมีย ส่วนของปาก ( proboscis) จะยาวเกือบเท่าระยางค์ปาก ( maxillary palpi ) และส่วนปลายอก ( scutellum ) จะโค้งเรียบไม่มี รอยหยัก ส่วนขาจะขาลายทั้ง 3 คู่ ข้อต่อระหว่างขาคู่หลังตรงส่วน Tibia และ Tarsi จะมีปื้นขาวยาวมาก เห็นได้ชัดเจน Anopheles Dirus พบในป่าทึบชอบออกไข่ตามแอ่งน้ำนิ่งขังตามธรรมชาติ ลักษณะนิสัยชอบกินเลือดคนมาก ไม่ชอบกินเลือดสัตว์อื่นออกหากินตอนกลางคืนถึงเช้ามืด แต่ถ้าป่าทึบมาก ๆ ก็หากินช่วงกลางวันด้วย ยุงชนิดนี้ เป็นชนิดที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อมาลาเรียมากกว่ายุงพาหะชนิดอื่นในประเทศไทย
2. Anopheles minimus ลักษณะปาก,ระยางค์ปากและส่วนปลายของอกคล้าย An.dirus แต่ส่วนของปากและขาดำตลอด Anopheles Minimus พบตามชายป่า ชอบวางไข่ในลำธาร น้ำใส ไหลเอื่อย ๆ ยุง Anopheles จะชอบออกไข่ในน้ำนิ่ง ดังนั้น วิธีหนึ่งที่เราจะช่วยกำจัดมาลาเรียคือ ทำลายแหล่งน้ำนิ่งทั้งในและนอกบ้านให้หมดสิ้น 3.Anophelesmaculatus ลักษณะปาก,ระยางค์ปาก และส่วนปลายของอกคล้าย An.dirus แต่ลักษณะของขาจะลายทั้ง 3 คู่ ขาคู่หลังจะมีปื้นขาวที่ส่วนปลาย
4.Anopheles sundaicus ลักษณะปาก,ระยางค์ปาก และส่วนปลายของอก คล้าย An.dirus แต่ลักษณะของขาทุกขา จะมีจุดขาวเป็นกระไม่มีปื้นขาวเลย
ยุงมีปากที่เป็นท่อแหลมสำหรับดูดเลือดจากคนเพื่อเอาโปรตีนไปสร้างไข่ ยุงตัวเมียมักออกหาเหยื่อเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นท่อเจาะผิวหนังเพื่อดูดกินเลือด กระบวนการนี้ ตามปรกติจะดำเนินไปโดยเหยื่อไม่รู้ตัว เนื่องจากยุงจะปล่อยน้ำลายออกมา เพื่อทำหน้าที่เป็นยาชา ทำให้คนถูกกัดไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งน้ำลายนี่เองที่มีเชื้อมาลาเรีย โดยยุงได้เชื้อนี้จากคนที่มันไปกัดมาก่อน
เชื้อมาลาเรีย ในปัจจุบันนี้ วิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น ทำให้เราทราบว่าไข้มาลาเรียเกิดจากเชื้อปรสิต สกุล Plasmodium 4 ชนิดได้แก่ falciparum, vivax, ovale และmalaria โดย falciparum และ malaria จะทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงทุกระยะ แต่ vivax, ovale นั้น จะฆ่าเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์เท่านั้น โดยเชื้อที่มีความสำคัญในบ้านเรามี 2 ชนิด คือ Plasmodium falciparum กับ Plasmodium vivax
ความรัก ไม่มีใครดีพอสำหรับใคร
l บางอย่างเปลี่ยนไปใช่ว่าเปลี่ยนไป l
ที่มาจาก FWD Mail
วิธีฝึกสมอง...ให้เป็นคนเก่ง
"การฝึกฝนทำให้คุณเป็นคนเก่ง" นี่คือคำกล่าวของนัก Neuroscientist ชาวสวีเดน โทร์เคล คลิงเบิร์ก ว่าคนเราควรทำอย่างไรให้ได้ข้อมูลและมีความเข้าใจมากที่สุดโดยที่เราไม่ต้องใช้สมองเกินกำลังหรือไม่ทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย เนื่องจากสมองทำงานอย่างมีประสิทธิมากที่สุดในระยะเวลาที่จำกัด แต่เราก็มีวิธีที่จะใช้ศูนย์ความคิดของเราให้มีประโยชน์มากที่สุดเช่นกัน
Multitasking คุณกำลังเดินทางไปพบปะพูดคุยธุรกิจและระหว่างทางก็ครุ่นคิดวิธีการเจรจาตกลงต่างๆ โทรศัพท์หรือเขียนจดหมาย แต่การทำงานหลายๆ อย่างในคราวเดียวกันมีความเสี่ยงกับความผิดพลาดในการส่งอีเมล์ผิดให้กับคู่เจรจา ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ทำงานหรือจัดการธุระใดๆ ก็ตามให้เป็นไปตามลำดับ อย่าทำงานหลายอย่างในคราวเดียวกันเพื่อป้องกันความผิดพลาดสัญชาตญาณบอกคุณได้ดีกว่าสมอง ในแต่ละวันเรามีเรื่องต้องตัดสินใจประมาณ 20,000 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องในชั่วพริบตา และคนเป็นจำนวนมากที่ตัดสินใจโดยไม่รู้ตัว เช่น การทักทายและการออกความเห็นในที่ประชุม โดยเฉพาะคนที่ทำงานในออฟฟิศมีเงื่อนไขของเวลาเป็นแรงกดดันในการตัดสินใจ นักจิตวิทยาจึงแนะนำให้ฟังเสียงความรู้สึกของตัวเองหรือสัญชาติญาณซึ่งเรานำไปใช้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งก็ทำให้มีทางเลือกที่เร็วกว่าและดีกว่าในการตัดสินใจแบบสายฟ้าแลบ เนื่องจากการตัดสินใจแบบในชั่วพริบตาจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ แต่ในกรณีที่คุณต้องตัดสินใจเรื่องที่ไม่เชี่ยวชาญก็ควรปรึกษาและขอความเห็นจากผู้ใหญ่ที่มีความรู้และประสบการณ์จะดีกว่า
กลิ่นกาแฟช่วยกระตุ้นเซลล์สมอง จำเป็นต้องตื่นแต่เช้าเพราะมีงานด่วน ยังรู้สึกงัวเงีย สมองยังไม่แล่นเพราะนาฬิกาชีวิตยังปรับไม่ทันความจำเป็นของคุณ สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือกาแฟสักหนึ่งถ้วย ลำพังกลิ่นกาแฟในตอนเช้าก็มีผลกระตุ้นสมองให้ตื่นตัว นี่คือผลการศึกษาจากนักวิจัยชาวญี่ปุ่น เพื่อนร่วมงานของคุณก็คงยินดีที่จะได้กาแฟสักหนึ่งถ้วยจากคุณและคุณก็ยังได้สูดกลิ่นกาแฟไปด้วยการแข่งขันกระตุ้นสมอง ถ้าเรารู้ว่า เราต้องแข่งขันกับใครสักคน มันจะกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปทั่วในบริเวณสมองหรือที่เรียกกันว่า "ศูนย์รับรางวัล" เพราะจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยบอนน์ ในประเทศเยอรมนีโดยการให้อาสาสมัครแข่งขันกัน หากใครพิมพ์ถูกจะได้รางวัล 120 ยูโร และมีการแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาของสมองจากภาพสแกน ผลก็คือ มีเลือดไหลเวียนสูงสุดที่ศูนย์รางวัลของผู้เข้าแข่งขันระหว่างตอบคำถาม
สมาธิเพิ่มเมื่อมีงาน เสียงโทรศัพท์ ผู้ร่วมงานหัวเราะ มีอีเมล์ที่ต้องตอบ งานหลายๆ อย่างประเดประดังเข้ามา ใช้เวลาเกือบชั่วโมงกว่าคุณจะตั้งสมาธิได้ ทั้งนี้ นักจิตวิทยาชาวอังกฤษพบว่า การมีสมาธิขึ้นอยู่กับงานยากหรือง่าย หากเป็นงานง่ายๆ ก็ขึ้นอยู่กับคุณที่จะคุมสมาธิตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน หากเป็นงานยาก สมองจะมีสมาธิกับงานอย่างอัตโนมัติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณมีอารมณ์เศร้า ก็อย่าจมปลักกับงานที่ทำประจำเพราะมันอันตรายกับสมองในการใช้งานเกินกำลัง คุณควรเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ บ้างเพราะมีการพิสูจน์มาแล้วว่า โครงสร้างสมองของผู้ใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อได้เรียนสิ่งใหม่ๆ และกระบวนการเรียนรู้ทุกอย่างจะเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมองหรือทำให้แข็งแรงขึ้น และยังก่อให้เกิดเซลล์ใหม่ๆ ด้วย ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ
สมองทำงานเหมือน Google จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียตั้งข้อสันนิษฐานว่า เมื่อคนคิดถึงคำ ศูนย์ความคิดของเราจะทำหน้าที่คล้ายๆ กับ Google คือคิดตามลำดับ เช่น 1 2 3
สมองต้องออกกำลัง แม้เราจะไม่ค่อยได้บริหารสมองด้วยการคำนวณหรือทายปริศนาอักษรไขว้ เราก็สามารถช่วยให้สมองฟิตได้ เพราะจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกนได้ชี้ให้เห็นว่า การมีสังคมกับผู้คนสามารถช่วยให้สมองตื่นตัวได้เหมือนการบริหารสมอง
ข้อมูลจาก LISAGURU.com
วิธีการดูแลเส้นผม
1. ห้าม ใช้เล็บเกาหนังศีรษะเด็ดขาดหลายๆคนเวลาสระผม(รวมทั้งช่างทำผมบางร้าน) ชอบใช้เล็บเกาแกรกๆๆๆ ซึ่งไม่ควรทำค่ะ มันจะเป็นการขูดขีดทำร้ายหนังศีรษะโดยตรง ยิ่งสาวๆเล็บยาวๆนี่ น่ากลัวมั่กๆ ดีไม่ดีหนังศีรษะเป็นแผลพาลติดเชื้อสารพัดได้นะคะ ทางที่ดีเวลาสระผมให้ใช้ปลายนิ้วค่ะ คันมากก็นวดแรงหน่อยได้ นวดๆๆๆหนังศีรษะให้สะอาด ซึ่งเป็นการช่วยให้โลหิตหมุนเวียนไปในตัวด้วยค่ะ
2. ห้าม ใช้ผ้าขนหนูขยี้ผมเห็นในโฆษณาหลายๆชิ้น นางแบบสระผมแล้วใช้ผ้าขนหนูขยี้ๆๆๆผมเปียกๆแบบเมามันแล้วเราก็สยอง แถมเห็นมากะตาตัวเองก็หลายครั้งค่ะ ว่าสาวๆใช้ผ้าขนหนูขยี้ๆๆๆกะว่าเอาให้ผมแห้งคามือเร็วๆ จริงๆแล้วผ้าขนหนูมีไว้ ซับ น้ำออกจากผมค่ะ แค่ซับๆก็พอ ที่เหลือปล่อยให้แห้งเอง หรือใช้พัดลมเป่าก็ได้ค่ะ อย่าใจร้อน การขยี้จะเป็นการทำให้เกล็ดผมเสียดสีกัน ยิ่งผมเปียกจะอ่อนแออยู่แล้ว ยิ่งทำให้ผมเสียง่ายค่ะ
3. ห้าม หวีผมขณะเปียกตอนผมเปียกเส้นผมจะอ่อนแอค่ะ ความยืดหยุ่นจะน้อย ถ้ายิ่งเอาหวีซี่ถี่ๆไปหวี จะยิ่งทำร้ายผม งานนี้ก็แตกปลาย ขาดกลางตามมา ถ้าทนไม่ไหวอยากหวีจริงๆใช้หวีซี่ห่างๆดีกว่าค่ะ หรือใช้มือค่อยๆสางเอา ปกติแล้วถ้าตอนสระผมคุณระวังๆหน่อยไม่ขยี้ผมจนพันกัน ค่อยๆนวดหนังศรีษะ ค่อยๆล้างฟองแชมพูออก และค่อยๆซับน้ำจากผม คุณจะแทบไม่ต้องหวีเลยค่ะ ผมเรายาวถึงเอวนะคะ แต่ไม่เคยต้องหวีหลังสระค่ะ มันจะเรียงตัวเองตอนหลังสระใหม่ๆเพราะระวังตอนสระดีแล้ว
4. ใช้ ครีมหมักผมแทนครีมนวดผมนี่เป็นสิ่งที่เราทำมานานแล้วค่ะ ใช้ครีมหมักข้นๆแบบกระปุกนั่นแหละค่ะแทนครีมนวดขวดๆเหลวๆ ยี่ห้อไหนก็ตามศรัทธา ครีมแบบนี้จะเข้มข้นกว่าค่ะ บำรุงผมได้ดีกว่า โดยสระผมก่อนหมักทิ้งไว้ แล้วค่อยอาบน้ำ แปรงฟัน ขัดตัว ขัดหน้า ฯลฯ สุดท้ายก็ล้างครีมหมักออกจะพอดีกันค่ะ ยี่ห้อที่เราชอบจะเป็นโดฟกับโลแลนค่ะ(ถูกดี ฮี่ๆๆ)
5. พก กรรไกรเล็กๆไว้คอยเล็มผมแตกปลายสาวๆผมยาวแตกปลาย อย่าเห็นผมแตกปลายแล้วเด็ดปลายทิ้งนะคะ ยิ่งผมเสียไปกันใหญ่ พกกรรไกรเล็กๆคมๆไว้เล็มดีกว่าค่ะ (แต่ดูกาละเทศะด้วยเน้อ งัดออกมาเล็มกลางห้องประชุมคงไม่ค่อยเหมาะแน่) ค่อยๆเล็มไปค่ะ ผมที่แตกปลายแล้วจะไม่มีทางกลับมาติดกันได้อีกอย่างแน่นอน(ยกเว้นเอากาวทา 555) เสียแล้วเสียเลยค่ะ ต้องเล็มทิ้งเท่านั้น อย่าไปเชื่อโฆษณาที่ว่าแก้ผมแตกปลายได้ โม้ทั้งเพค่ะ เล็มทิ้งแล้วค่อยบำรุงใหม่เท่านั้นคือคำตอบ
6. ใช้ น้ำมันหมักผมก่อนสระวันไหนว่างๆลองใช้น้ำมันหมักผมดูค่ะ เลือกตามใจชอบ เราลองมาแล้วทั้งน้ำมันมะพร้าว(แบบสกัดเย็นนะคะ จะหอมหวานๆน่ากินมั่กๆ) น้ำมันมะกอก(ที่ขายในซุปเปอร์นั่นแหละค่ะ เลือกแบบเวอร์จิ้นออย) น้ำมันงา (ตามที่ขายของโอท็อปจะมีแบบไว้หมักผมค่ะ) ยกเว้นน้ำมันหมูยังไม่เคยค่ะ -_-" หมักตอนผมแห้งๆนั่นแหละค่ะ ทิ้งไว้สัก 30 นาทีขึ้นไป แล้วสระตามปกติ (พี่คนข้างๆแนะว่าถ้าผมเสียมากให้ใส่ไข่แดง 1 ฟองด้วยค่ะ ผมพี่เค้าสวยปิ๊งเลย แต่เราเหม็นอ่ะ ฮือๆๆ)ถ้าใครผมมันมากก็ไม่ต้องใส่ครีมนวดผมก็ได้ค่ะ ผลที่ได้คือจะทำให้ผมนิ่มมีน้ำหนักขึ้น แต่วิธีนี้ไม่แนะนำสำหรับสาวผมดัดนะคะ เพราะอาจทำให้ลอนคลายเร็วขึ้น
วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
10 วิธีช่วยลดภาวะโลกร้อน
1. ต้องยอมรับก่อนว่า สาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนมิได้มาจากประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศพัฒนาแล้วเป็นหลัก แต่เราทุกคนบนพื้นผิวโลก รวมทั้งคนไทยด้วย ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของต้นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน เพราะการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไฟฟ้า การเดินทาง การขนส่ง การบริโภค การสร้างที่พักอาศัย การซื้อของ ล้วนมีส่วนสำคัญในการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ
2. ประหยัดการใช้พลังงานทุกชนิด โดยเฉพาะไฟฟ้า เพราะเชื้อเพลิงสำคัญในการผลิตไฟฟ้า คือ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ล้วนแต่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ก่อภาวะเรือนกระจกทั้งสิ้น เลือกอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า เช่นเปลี่ยนมาใช้หลอดประหยัดพลังงาน เพราะหลอดไฟที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเปลี่ยนพลังงานเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นให้เป็นแสงสว่าง ส่วนพลังงานอีกร้อยละ 90 สูญเสียไปในรูปของความร้อน และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน
3. หลีกเลี่ยงการใช้รถยนต์ส่วนตัว เพื่อเป็นการประหยัดการใช้น้ำมัน ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงการโดยสารเครื่องบิน ดังที่รายงานของสถาบันสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศแนะนำว่า ควรใช้บริการรถไฟสำหรับการเดินทางในระยะทางไม่เกิน 640 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยลดจำนวนเที่ยวบินลงได้ถึงร้อยละ 45 และบรรดานักธุรกิจควรใช้ระบบการประชุมผ่านวิดีโอแทนการให้พนักงานขึ้นเครื่องบินไปร่วมการประชุม
4. คิดก่อนจะซื้อสิ่งของ เพราะการผลิตและการขนส่งสินค้าเกือบทุกชนิดล้วนแต่ใช้พลังงานทั้งสิ้น ก่อนจะซื้ออะไรลองถามตัวเองว่า สิ่งนั้นจำเป็นเพียงใด หรือลองเปลี่ยนจากการซื้อของใหม่เป็นการซ่อมหรือใช้ของมือสองแทน
5. ลดการกินทิ้งกินขว้าง เพราะเศษอาหาร และของที่บูดเน่า เมื่อไปทับถมอยู่ที่กองขยะจะกลายเป็นแหล่งผลิตก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง
6. บริโภคของที่ผลิตในประเทศ เพราะการซื้อสินค้าจากต่างประเทศย่อมต้องสิ้นเปลืองพลังงานในการขนส่ง การกินอาหารท้องถิ่น จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่า เช่นหันมากินปลาทูแทนปลาแซลมอน เพราะนอกจากราคาถูก และทำให้เงินทองไม่รั่วไหลออกนอกประเทศแล้ว ยังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย
7. พกขวดน้ำติดตัวไปด้วยระหว่างการเดินทาง ขวดน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิตมหาศาล แถมยังทำให้เกิดขยะล้นโลก และในการกำจัดขยะก็ต้องใช้พลังงานอีกต่างหาก
8. หลีกเลี่ยงการใช้ถุงพลาสติก เพราะการผลิตถุงพลาสติกใช้พลังงานอย่างมหาศาล ถ้าให้ดีนำถุงผ้าจากบ้านติดตัวไปด้วยเวลาซื้อของตามร้านค้า หากไม่จำเป็นควรบอกพนักงานขายว่าไม่เอาถุงพลาสติก เพราะเมื่อนำกลับบ้านแล้วคนส่วนใหญ่จะทิ้งลงถังขยะ ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ถุงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ถึงปีละ 1 แสนล้านใบ
9. ประหยัดการใช้กระดาษ อุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ ใช้พลังงานมากเป็นอันดับ 4 ทั้งยังก่อมลพิษทางน้ำ เป็นต้นเหตุของการทำลายป่าไม้ ซึ่งเป็นตัวดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญด้วย
10. สนับสนุนการซื้อสินค้าจากบริษัทผู้ผลิต ที่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท ที่มีส่วนในการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ผลิต ที่อยากมีส่วนในการปกป้องโลก และเลิกสนับสนุนสินค้า ของบริษัทที่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
เรือนเลี้ยงกล้วยไม้
เรือนเลี้ยงกล้วยไม้
เนื่องจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติของประเทศไทยเหมาะสมแก่การเลี้ยงกล้วยไม้ การสร้างเรือนเลี้ยงกล้วยไม้จึงไม่ต้องลงทุนอย่างในประเทศหนาว นอกจากนั้นอาจมีกล้วยไม้บางชนิดซึ่งสามารถปลูกกลางแจ้งได้ โดยไม่จำเป็นต้องสร้าง เรือนกล้วยไม้เพื่อบังร่มเงาให้เลยก็ได้ นอกจากนั้นในภูมิประเทศบางแห่งของประเทศไทย เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลบางท้องที่อาจเลี้ยงกล้วยไม้บางชนิดได้โดยไม่ต้องสร้างเรือนกล้วยไม้เลย เพราะการหมุนเวียนถ่ายเทของกระแสลม มีส่วนช่วยลดความร้อนจากแสงแดดได้มากพอสมควร ในสภาพเช่นนี้จะปรากฏว่า กล้วยไม้เจริญแข็งแรงและสมบูรณ์ดี เพราะสามารถรับแสงแดดอันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีความร้อน รุนแรง ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้นั้นๆ
โดยทั่วๆไปการสร้างเรือนกล้วยไม้ในประเทศไทย นิยมใช้ไม้ระแนงตีเว้นช่องอย่างโปร่งๆ และทิศทางในการตีไม้ระแนงนั้น วางตามยาวระหว่างทิศเหนือกับทิศใต้ ทั้งนี้เพื่อให้เงาไม้ระแนงสามารถเคลื่อนตัวได้ตลอดวัน สอดคล้องกันกับการเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์ อันเป็นต้นกำเนิดของแสงแดด ผลจากสิ่งนี้จะช่วยให้กล้วยไม้ ซึ่งเลี้ยงอยู่ในเรือนได้รับแสงแดดโดยทั่วถึงอย่างไรก็ตาม ในระยะหลังๆ การเลี้ยงกล้วยไม้ได้ขยายวงกว้างออกไปมาก ประกอบกับปัญหาป่าไม้ถูกทำลาย ทำให้ไม้มีราคาสูงขึ้น แต่การเลี้ยงกล้วยไม้ก็เป็นกิจกรรมที่สังคมยอมรับในผลประโยชน์ จึงได้มีผู้คิดนำวัสดุอย่างอื่นมาใช้แทนไม้ระแนง อาทิเช่น ไม้รวกผ่าซีก ผ้าไนลอนซึ่งทออย่างโปร่งๆ สำหรับใช้แสงในการปลูกต้นไม้ ซึ่งผลิตในต่างประเทศ เป็นต้น
กล้วยไม้สกุลช้าง
กล้วยไม้สกุลนี้ นอกจากช้างกระ ช้างเผือก และช้างแดงแล้วยังมีไฮนเรศและเขาแกะรวมอยู๋ด้วยทั้งหมดนี้เป็นพวกไม้อากาษโดยแท้ จึงเหมาะที่จะนำไปเกาะตามต้นไม้กิ่งไม้และตอไม้มาก เลี้ยงง่ายออกดอกง่าย และมีช่อตั้งและช่อห้อย พอถึงฤดูดอกจะออกพรูหร้อมกันหลายสิบช่อ ถ้าหากเลี้ยงเป็นกอใหญ่จะน่าดูยิ่งขึ้น และมีกลิ่นหอมตลบทั่วบริเวณโดยเฉพาะช้าว ซึ่งในปัจจุบัน ได้มี การผสมระหว่างไม้ชนิดเดียวกัน และคัดเลือกได้พันธ์ที่ดีเด่นขึ้นเป็นจำนวนมาก ที่เรียนว่าไม้พันธ์แท้ ส่วยที่ทำการผสมข้ามสกุลก้อสามารถถ่ายทอดลักษณะเด่นของช้างไปยังลูกผสมได้ดีมาก เช่น Opisanea lanathai (ช้างแดง-ลิ้นกระบือ) และ Rhynchovanda Sagarik Wine (ช้างแดงขสามปอย) เป็นต้น
ช้างกระ,ช้างดำ (Rhyn. gigantea)
มีลักษณะต้นใหญ่โตส้มชื่อ ใบหน้ากว้าง 4-6 ซม. ยาว 30-40 ซม. สีเขียวอ่อน มีทางยาวสีเขียวแก่เป็นเส้นถี่ๆ ตามความยาวของใบ ปลายรากอมม่วงเล็กน้อย ช่อดอกห้องโคงลงยาว 25-35 ซม. ดอกขนากย่อมโตประมาณ 2-3 ซม. ดอกออกรอบก้านช่อสีขาวประมวงมากบ้างน้อยบ้าง แผ่นปากสีม่วงเข้มแซมด้วยเส้นสีขาวมีกลิ่นหอมแรงมาก ออกดอกในฤดูหนาวตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกุทภาพันธ์เป็นช้างที่พบทั่วไปในทุกภาพของประเทศ
ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายช้าง แต่ต้นเล็ก ใบ แคบและยาวคืด กว่างราว 4 ซม. ยาวราว 40 ซม. ก้านช่อห้อยยาว 30-40 ซฝ. ออกพร้อมกัน 2-4 ช่อ ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 ซม. ดกมากออกเป็นพวงแน่นรอบก้านช่อคล้ายพวงมาลัย สีขาวประจุดม่วงเล็กๆ ปลายปากแต้มม่วงเป็นพิดแซมด้วยเส้นสีขาว พบทั่วไปในทุคภาคของประเทศ แต่ภาคใต้ดอกเล็กช่อยาวกว่า ภาคกลาง ตะวันตก ตะวันออก รวมทั้งภาคอิสานและ ภาคเหนือตอนล่าง ดอกโตกว่าส่วนภาคเหนือดอกย่อมกว่าแต่สีมักประม่วงแดงถี่กว่า และใบมักกว้างสั้นกว่าด้วย
เขาแกะ (Rhyn. coclestis) มีชื่อสามัญทั่วไปว่า Blue foxtail crchid
เขาแกะเขาเผือกหรือที่จริงน่าจะรเยน Whrite form มากกว่า
ลักษณะต้นเตี้ยใบซ้อยชิดกันแน่น ใบห่อเข้าหากันปลายโค้งลงเล็กน้อยมองดูคล้ายเขาแกะ ขนาดใบยาว 10-15 ซม. ก้านช่อดอก ตั้งตรงยาวประมาณ 15-20 ซม. ออกดอกพร้อมกันยอดละ 2 ซม. ออกรอบก้สนช่อ สรมีได้หลายสี โคนกลีบมักเป็นสีขาวมากบ้างน้อยบ้าง แต่โดยสีมั่วไปคล้ายฟ้ามุ่ย
กล้วยไม้สกุลเอื้องกุหลาบ
กล้วยไม้สกุลนี้เฉพาะที่พบในบ้านเรามี 8 ชนิดด้วยกัน โดยไม่นับรวมเอื้องกุหลาบหนวดพราหม์พมณ์ (Aer. mitrata) ที่ย้ายไปไว้ในสกุลใหม่เป็น Seidenfadenia mitrata เอื้งกุหลาเป็นพวกไม้อากาศที่เลี้ยงง่าย ยกเว้นบางชนิดที่ชอบอากาศเย็น ช่อห้อยหรือช่อโค้งลง ดอกสวยงาม แลบาางชนิดมีกลิ่นหอมคล้ายกุหลายก็มี คล้ายกลิ่นตะใครก็มี จึงเป็นกล้วยไม้ที่เหมาะสำหรับนำไปปลูกประดับสวนโดยห้อยไว้ตามคบไม้ กิ่งไม้และตอไม้หรือแม้แต่บนกำแพงหรือบนรั้วบ้าน เพื่อให้เจริญงอกงามเป็นกอใหญ่ต่อไป เมื่อถึงฤดูดอกจะออกหร้อมกันหลายสิบช่อน่าดูมาก ปละถ้าเป็นชนิดที่มีกลิ่นจะหอมตลบไปทั่วบริเวณ
เอื้องกุหลาบหระเป๋าปิด (Aer. odorata)
หรือบางครั้งเรียกว่า เอื้งกุหลาบพวง เป็นชนิดที่พบแพร่หลายทั่วไปในทุคภาคของประเทศ ทรงต้นโปร่งยอดเลื้อยทอด ใบแบนยาว กว้าง 2-3 ซม. ยาว 20-30 ซม. ก้านช่อยาวประมาณ 20-30 ซม. ปลาบช่อโค้งลง ดอกออกรอบก้านช่อระยะพองาม ขนาดดอก 2.5-3 ซม. สีขาวแต้มชมพูที่ปลายกลีบและปลายปาก แผ่นปากเล็กมีหูปากหุ้มเส้นเกสรไว้ จึงเรียนว่ากระเป๋าเปิด และมีเดือยงอนชี้ไปข้างหน้า ดอกมีกลิ่นหอมแรงบานครั้งละหลายๆ ช่อในแต่ละยอด และบานเกือบจะหร้อมกันทั้งช่อ เนื่องจากเป็นชนิดที่มีการกระจายพันธ์กว้างขวาง จึงมีลักษณะแตกต่างกันมากพอสมควร ในบ้านเราที่ห็นเด่นชัดก็มี
ลักษณะต้นคล้ายเอื้องกุหลาบกระเป๋าปืด แต่ใบแผ่กว้างกว่า คือ กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 15-30 ซม. ก้านช่ออ่อนห้อยลงพื้น ยาว 20-40 ซม. ดอกออกรอบช่อกระจายห่าง ๆ ขนาดโตราว 3 ซม. ปากกว้างแบะยื่นออกมาข้างหน้าสีม่วงแดง แต่แทนที่จะเรียนว่ากุหลาบปากเปิดกลับไปเรีบยกระเป๋าเปิดแทนกลีบดอกสีขาวแต้มม่วงที่ปลายกลีบหรือเคือบม่วง ออกช่อพร้อมกันยอดละหลายช่อ พบแพร่หลายทั่วไป เป็นชนิดที่เลี้ยงง่ายมาก ชอบแดด ออกดอกใยฤดูร้อนระห่างเดือนเมษายนถึง พฤศภาคม
เอื้องกุหลาบเหลือโคราช (Aer. houlettiana)
เป็นกุกลาบปากเปิดอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งบางคนก็ถือเป็นเพียงพันธ์หนึ่งเท่านั้นลักษณะต้นตั้งหรือค่อนข้างตั้งสูง 30-60 ซม. ใบถี่ซ้อนชิดกันพอสมควร กว้างราว 2.5 ซม. ยาว 15-20 ซม. ก้านช่อดอกโค้งยาว 15-25 ซม. ก้านช่อดอกโค้งยาว 15-25 ซม. ขนาดดอกโตราว 2.5-3 ซม. สีเหลืองนวลไปจนเหลือแก่ ปลายปากแผ่นกว้างสีม่วงอ่อนจนถึงม่วงแก่โคนปลายขาว ต้นสีแก่จะดูสวยงามกว่าต้นสีอ่อนมาก โดยเฉพาะสีเหลือม่วง-ขาว ที่ตัดกันเด่นชัด มีกลิ่นหอมมากบ้างน้อยบ้าง คล้ายกลิ่นตะไคล้ พยเฉพาะในถาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่นครราชสีมาจนถึงนครพนม ตามป่าโปร่งแห้งแล้ง การปลูเลี้ยงในกรุงเทพฯ ๆไม่ควรให้ร่มชื้นเกินไปยอกมักเน่าเปื่อยเมื่อฝนตกชุก ออกดอกครั้งละหลายช่อในช่วงฤดูร้อนระกว่าเดือนเมาาถึงพฤษภา หากปีใดเว้นไม่ออกดอกมักไปออกรวมในอีถัดไปมากช่อยิ่งขึ้นถ้าต้นสมบูรณ์พอ
เป็นชนิดที่ชาวยุโรปนิยมว่าสวยงามมากจนถึงกับเรียดว่า "ราชาแห่งเอื้องกุหลาบ" ที่เดียวลำต้นเตี้ยล่ำสัน ใบใหญ่สั้นและหนาสีเขียวปนแดง โดยเฉพาะในช่วงแล้ง ใบกว้างประมาณ 15-20 วม. ปลายช่อโค้งลงขนาดดอกโตราว 3 ซม. กลีบดอกนอกคู่ล่วงกว้างมาก ปากแบะยื่นออกมา สีของดอกมีตั้งแต่ชมพูสดไปจนสีม่วงแก่ โคนกลีบขาว แผ่นปากสีเข้มกว่าเล็กน้อยพบตามป่าโปร่งแห้วแล้ง หรือตามภูเขาสูงทั่วไปยกเว้นภาคใต้ ปลูเลี้ยงในกร่งเทพฯ ได้เจริญงอกงามดีมากแต่ออกดอกยากหรือบางทีช่อสั้นกว่าปกติจึงทำให้ขาดความงามไปอีก
ทรงต้นแข็งแรงล่ำสันใบใหญ่หนาคล้ายช้างขนาดย่อม แต่ใบั้งกว่าเล็กน้อย กว้างประมาณ 2.5-4 ซม. ยาว 15-30 ซม. ก้านช่อดอกยาวราว 40 ซม. ห้องลงหรือปลายโค้งลง และบางทีแตกแขนงช่อ 1-2 ช่อด้วย ดอกดกออกรอบก้านช่อ 50-100 ดอก ถ้านับรวมแขนงช่อดอกด้วย ดอกเล็กมีขนาดโตประมาณ 2.5 ซม. สีขาวประจุดม่วง ปากม่วง ชนิดโตพบที่ภูหลวงจังหวัดเลยด้วย
ส่วนชนิดทางภาคเหนือซึ่งเรียกว่า เอื้องกุหลาบไอยรา กรือเอราวัณ นั้นมีต้นเล็ก ใบแคบเล็กและสั้นกว่าปกติ ขอบใบกางออกขนาดดอกเล็กกว่าคือโตราว 2 วม. เท่านั้น แต่ก้านช่อยาวอาจถึง 60 ซม. และแตกแขนงช่อ 2-3 แขนงได้ ซึ่งเอื่องกุหลาบชนิดนี้ ศ.ระพีสาคลิก ว่าเป็่น Aer. multiflora var. lowii แต่ยังไม่ได้ตรวจสอบดูให้แน่นอน
เอื้องกุหลายมาลัยแดง (Aer. muliflora)
ลักษณะทรงต้นล่ำสัน แข็งแรง เตี้ย ใบหนา ของใบห่อพับ ปลายใบโค้งลงออกซ้อนชิด ใบกว่างประมาณ 2.5-4 ซม. ยาว 15-25 ซม. ก้านช่อแข็ง โค้งลงหรือห้อย สีม่วงเข็มเกือยดำ ดอกดกออกแนานช่อ ขนาดดอกโตราว 3 ซม. พื้นสีขาวปลายกลีบแต้วสีม่สงแดง กลีบในประแต้มสีม่วงแดงแก่ แผ่นปากกว่างแบะยื่นออกเป็นรูปสามเหลี่ยม สีม่วงอดง พบตามป่าโปร่งแห้งแล้งหรือตามคบไม้ใหญ่ในทุ่มนา และชายป่าดงดิบทั่วไปในภาคเหนือ ตะวันตก ตะวันออกและตะวันออกเฉียงหนือ
เป็นเอื้องกุหลาบที่เพิ่งพบกันเมื่อราว 10 ปีมานี้เอง และตั้งชื่อตามจัวหวัดที่พบครั้งแรก เป็นเอื้องกุหลาบขนาดย่อมและพบว่ามีขนาดเล็กแบบ miniature ด้วย คือเล็กกว่าต้นย่อมราวเท่าตัว และดอกเล็กกว่าด้วย ลักษณะทรงต้นเตี้ย ใบเล็กและหนาแข็ง กว้าง 1-2 ซม. ยาว 7-12 ซม. ถ้าเป็นชนิดต้นใบแผ่ แต่ถ้าเป็นชนิดต้นเล็กใบแคบเรียวยาวปลายโค้งใบออกซ้อยชิดกันพอประมาณก้านช่อดอกยาวมากเมื่อเทียบกับขนาดของต้นคือยาวประมาณ 15-25 ซม. ปลายช่อดอกที่ตอนปลายอืกราว 10 ซม. เท่านั้น ดอกย่อมโตประมาณ 1.2-1.8 ซม. สีชมพูสดไปจนถึงสีม่วงแดงแก่พบขึ้นตามภูเขาหินปูนตามเกาะและชายฝั่งทะเลในเขตจัวหวัดกระบี่ และพังงา
วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
กล้วยไม้พันธุ์เข็ม
กล้วยไม้สกุลนี้มีในบ้านเรา 3 ชนิด จากจำนวน 4 ชนิด และเป็นชนิดที่มีดอกสวยงามมากที่สุดคือ เข้มม่วง เข็มแดง และเข็มแสด ส่วนเข็มขาวและเข็มเหลือเป็นไม้ในสกุลแวนดา และเข็มหนูได้ย้ายไปไว้ในสกุล Smitinandia ซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นใหม่ เข็มทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวข้างต้นมีต้นและดอกเล็กแต่มีสีสันสดใสมาก เมื่องบานพรูพร้อมกันหลาย ๆ ช่อจึงดูสวยงามน่าดูมากเข้าลักษณะไม้แคระ (miniature) ได้เมื่อเที่ยบกับขนาดของแวนดาทั่วไป ปลูเลี้ยงง่าย ชอบ แดดโดคเฉพาะเข็มแสด และเข็มแดง ส่วนเข็มม่วงเลี้ยงยากกว่าและออกดอกยาวกว่าด้วย
เข็มม่วง (Asctm. ampullaceum)
มีทรงต้นอ้วยล่ำกว่าชนิดอื่นใบกว่างแข็งออกซ้อนชิดกัน ปลายชี้ตั้งขึ้นยางประมาณ 15 ซม. ปลายใบตัดเป็นฟันแหลมไม่เท่กันก้านช่อตั้งเฉียงๆ ขนานกับใบยาวประมาณ 15 ซม. ดอกดกออกรอบก้านช่อตั้งแต่ฟันกาบใบขึ้นไปจำนวนดอกประมาณ 30ดอกต่อช่อ ดอกโตประมาณ 2 วม. สีม่วงแดง ปากเล็กแคบสีเหนือนวน ฤดูดอกในราวเดือนมีนาคมถึง พฤษภาคม และทนอยู๋ได้ 2 สัปดาห์
เข็มม่วงมีถินกำเนิดบริเวณเดียวกับเข็มแดง แต่มักขึ้นอยู๋ในระดับสูงกว่า อากาศเย็นกว่าเมื่อนำมาปลูกเลี้ยงในกรุงเทพฯ จึงอ่านแอเน่าง่าย เมื่อได้รับความชื้นสูงต้องใช่วิธีแขวนไว้ในที่สู.ลมโกรกแต่ค่อนข้างร่มกว่าเข็มชนิดอื่นจึงพออยู่ได้ และออกดอกให้ชมบ้างใยบางปีและหลายช่อด้วย แต่ช่อมักสั้นกว่าปกติ
ทรงต้นผอมบางกว่าเข็มแสดแดง ยาวราว 15-20 ซม. กก้านช่อตั้งแต่ไม่แข็มเท่าเข็มแสด ยาวแระมาณ 20 ซม. ขนาดดอกโดยประมาณ 1.5 ซม. หรือโตกว่าเล็กน้อยออกรอบก้านช่อเป็นระเบียบพองาม ดอกสีส้มอมแดงหรือข่อนข้างแดงสดใส่ปลายเส้นมีสีม่วงเมล์ดมะปรางดอกบานทนกว่า 2 สัปดาห์ ดอกออกในเดือน พฤษภาเลี้ยงในกรุงเทพฯ ต้องรดน้ำให้น้องลงก่อนถึง ฤดูดอกสัก 1-2 เดือนจะปล่อยออกดอกสม่ำเสมอดีขึ้น และควรปล่อยให้เป็นกอโตจะให้ดอกมากช่อขึ้น และกำเนิดโปรตีน แหล่งกำเนิดคิอในไทย พบตั้งแต่กาณจนะรุรีขึ้นไบจรถึงแม่ห้องสอนตามแนวไทย-พม่า
มีลักษณะต้นและใบ คล้ายเข็มแดง แต่ลำต้นย่อมกว่า ใบแคบเล็กยาว และปลายใบโค้งลง ดอกเล็กกว่าเข็มแสดภาคอื่นขาดประมาณ 1 ซม. เท่านั้น และมีสีเข้มอมแดงคล้านเข็มแดง พบตั้งแต่ภาคใต้ลงไปถึงมลายา
เข็มแสด (Asctm. miniatum)
ลักษณะต้นเตี้ยแคระใบหนา แข็งซ้อนติดกันแน่น ต้นมักสูงไม่เกิน 30 ซม. แต่กหน่อเป็นกอโต ขนาดใบกว่าง 1.5 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. ปกติสีเขียว แต่ถ้าได้แดดมากจะมีประสีม่วงบนใบมาก ก้านช่อแข็งตั้งตรงสูง ประมาณ 15 ซม. ดอกดกแน่นช่อ ช่อละประมาณ 50 ดอก ขนาด ดอกโต ประมาณ 1.5 ซม. ปลายกส้นเกสรเห็นเป็นจุดสีดำ สีส้มอ่อนไปจนถึงสีส้มแก่สดใสสะดุดตามาก พบขึ้นในป่าโปร่งแห้งแล้งทั่วไปในทุคภาพ ฤดูดอกในราวเดือน กุมภาพันธ์ถึง มีนาคม เลี้ยงง่ายออกดอกง่าย บองต้นออกดอกในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนอีกครั้งหนึ่งก็มี
การป้องกันแสงแดด
หลายคนเกิดการสับสนเวลาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด ซึ่งดูจากค่า SPF (sun protective factor) ว่าผิวของตัวเองควรใช้ที่ค่า SPF เท่าไหร่ บางคนเชื่อว่า SPF ยิ่งสูงยิ่งดี แต่บางคนกลัวว่ายิ่งตัวเลขมาก อาจจะรุนแรงเกินไป และความเข้าใจผิดอีกต่างๆนานาเกี่ยวกับสารป้องกันแสงแดด ก่อนอื่นเราคงต้องทำความเข้าใจสาระสำคัญเกี่ยวกับรังสี UV กับผิวสักหน่อย
รังสียูวี (UV) มีผลต่อผิวอย่างไร?
เมื่อรังสี UV ในแสงแดดมากระทบกับผิว ด้วยกลไกการป้องกันตัวเองตามธรรมชาติ จะทำให้ผิวมีการผลิตเม็ดสีมากขึ้น เพื่อกรองรังสี UV มิให้เข้าสู่ชั้นผิวหนัง แต่ผลก็คือคุณจะมีผิวคล้ำขึ้น ดำขึ้น การผลิตเม็ดสีมากเกินไป และไม่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิด ฝ้า กระ จุดด่างดำนั่นเอง และหากรังสี UV สามารถผ่านเข้าผิวหนังชั้นที่ลึกลงไป โครงสร้างของผิวประกอบด้วย คอลลาเจน (Collagen) และอิลาสติน (Elastin) จะถูกทำลาย ผิดจะเกิดริ้วรอยก่อนวัยเร็วยิ่งขึ้น ผิวจะแห้ง ขาดความยืดหยุ่น และเกิดเป็นริ้วรอยลึกอย่างถาวร
รังสี UVB และ UVA ต่างกันอย่างไร?
รังสี UVB เมื่อสัมผัสถูกผิวจะทำให้เกิดการร้อน แดง ไหม้ คล้ำได้ แม้จะไม่ผ่านหนังลงไปได้ลึกมากนัก แต่ก็สามารถทำให้มีการผลิตเม็ดสีมากขึ้น และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดรอยหมองคล้ำ ฝ้า กระ จุดด่างดำ ส่วนรังสี UVA ส่งผลให้เกิดการทำลายเส้นใยคอลลาเจน และอิลาสติน ทำให้ผิวขาดความกระชับยืดหยุ่น เกิดเป็นริ้วรอย และรอยเ+++่ยวย่น
รังสี UVBรังสีUVAฤดูร้อนรังสีมีมากมีรังสีตลอดทั้งปีพบรังสีมากในช่วง 10-14 น.พบได้ตลอดวัน กระจกรถยนต์กันรังสีได้ กระจกรถยนต์กันไม่ได้
ครีมที่มี SPF
ครีมที่มี SPFกันรังสีไม่ได้
ก่อให้เกิดผิวไหม้ มะเร็งผิวหนัง ผิวแก่
มะเร็งผิวหนัง ผิวแก แพ้ยา
ค่า SPF ยิ่งสูง ยิ่งดี จริงเหรอ?
ไม่จริงเสมอไป และต้องขึ้นอยู่กับกิจกรรมและเวลาที่ต้องสัมผัสกับแสงแดด เช่นหากคุณมีกิจกรรมให้ต้องออกแดดเป็นเวลานาน อาทิ เล่นกีฬากลางแจ้ง หรือกิจกรรมอื่นๆ ควรเลือกใช้ Preme Natural UV Sport SPF 58 PA+++ ด้วยส่วนผสมของสารกันแดดที่ป้องกันรังสี UVB & UVA และสูตรกันน้ำเพื่อการติดผิวที่ดี ปกป้องผิวได้ยาวนานกว่าเพราะต้องสัมผัสกับแดดจัด แต่หากในกรณีทั่วไปในชีวิตประจำวันที่ไม่ต้องเจอแดดจัด ควรเลือกใช้ Preme Natural Natural UV Daily Peofection SPF 31 PA++ เพราะรังสี UV มีอยู่ทั่วไปแม้ในอาคาร รถยนต์ หรือแม้แต่ในแสงไฟในที่ทำงาน
ค่า PA คืออะไร? สำคัญอย่างไร?
ค่า PA คือค่าที่แสดงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA มี 3 ระดับคือ PA+, PA++ และ PA+++ การมีจำนวน +++ หหมายถึงการมีประสิทธิภาพในระดับสูงสุด รองลงมาคือ ++ และน้อยที่สุดคือ + นั่นเอง
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด
ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่ดีจะต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีได้ทั้ง UVB & UVA ซึ่งจะแสดงค่า SPF และค่า PA ทั้งสองค่านั่นเอง หากมีเพียงค่าใดค่าหนึ่ง หรือป้องกันได้เพียงรังสี UVB หรือ UVA เพียงอันใดอันหนึ่ง อาจทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันผิวจากรังสี UV ไม่ดีเท่าที่ควร
เคล็ดไม่ลับ
1.อย่าขี้เหนียวโดยใช้เหตุ ถ้าคุณทาครีมกันแดดบางๆ เพราะเสียดาย คุณจะเสียค่า SPF ไปเกือบครึ่งโดยเปล่าประโยชน์
2.ทาครีมกันแดดขณะที่ผิวแห้งก่อนออกจากบ้านหรือออกแดด อย่าลืมทาบริเวณลำคอและใบหูด้วย เพราะเป็นส่วนที่บอบบางและถูกแดดเผาได้ง่าย
3.ทาโลชั่นทับอีกครั้งอย่างเบามือ ถ้าถูแรงๆอาจทำให้ครีมกันแดดของคุณหลุดออกมาด้วยถึง 25%
4.ทาครีมกันแดดก่อนออกแดดอย่างน้อย 30 นาที
5.หลังจากอาบน้ำเสร็จแล้ว อย่าลืมทาครีมกันแดดอีกรอบ
6.หมวกทึบปีกกว้างใบใหญ่ช่วยกันแสงแดดได้ดีที่สุด และจงจำให้ขึ้นใจ สิ่งที่ดีที่สุดในการป้องกันแสงแดด คือ การหลีกเลี่ยงแสงแดด ซึ่งเป็นสิ่งที่ปฏิบัติยาก...555...
ข้อมูล : ไทยนครพัฒนา